เปิดรับสมัครสมาชิก webboard ตามปกติแล้วครับ

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการDos, Windows, Linux, Unix  (อ่าน 27231 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Admin!

  • อยู่ใต้ฟ้าอย่าท้าฝน เกิดเป็นคนอย่าท้ากรรม !
  • admin
  • *
  • กระทู้: 4182
  • Reputation: 101
  • เพศ: ชาย
  • สัจจะคือคำขาด
    • http://www.siamcafe.net
พอดีไปค้นเจอไฟล์ๆนี้อยู่ใน Mydoc ของผม..เก็บเว้นค่อนข้างนานมากๆๆจนผมจำไม่ได้แล้ว..แต่คิดว่าคงมีประโยชน์กับบางคนที่ยังไม่รู้...ซึ่งจริงๆมันก็เก่าแล้วหละ..เอาไว้กันลืม.. shy

ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ
 Dos, Windows, Linux, Unix

ระบบปฏิบัติการ Dos
เมื่อมีการใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์กันอย่างจริงจัง ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ต่างก็มีโปรแกรม จัดการระบบหรือ OS ของตนเอง ซึ่งโปรแกรมนี้อาจจะบรรจุอยู่ในคอมพิวเตอร์ หรือนำมาบรรจุจากแผ่นดิสก์ โปรแกรมนี้มีหน้าที่ที่จะสั่งให้จอภาพ แป้นพิมพ์ และเครื่องขับดิสก์ ( Disk Drive) ทำงานจัดการเกี่ยวกับไฟล์ เช่น บรรจุ บันทึก และให้ทำงาน ซึ่งถ้าไม่มีโปรเแกรมนี้แล้วคอมพิวเตอร์จะทำงานอะไรไม่ได้เลยการที่มีโปรแกรมจัดระบบที่ต่างกันเป็นผลทำให้คอมพิวเตอร์ต่างยี่ห้อกันใช้งานโปรแกรมเดียวกันไม่ได้เลย เรียกว่าของใครของมัน ค.ศ. 1973 แกรี่ คิลดัล ( Gary Kildall )ได้เขียนระบบปฏิบัติการ CP/M ซึ่งย่อมาจาก Control Program for Microprocessor เป็นรากฐานของดอส ที่ใช้กับเครื่อง 8 บิต (*เทคโนโลยีของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีการประมวลผลข้อมูลทีละ 8 บิต) ในสมัยก่อน แต่ปัจจุบัน CP/M ไม่มีใช้กันแล้วบนเครื่องพีซี ในปี ค.ศ. 1981คอมพิวเตอร์ซึ่งผลิตโดยบริษัท IBM ชื่อ IBM PC เข้ามาสู่ตลาด และได้สร้างโอเอสตัวใหม่ซึ่งเขียนโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ใช้ชื่อว่า PC DOS เวอร์ชั่นที่ 1 (Version 1) ต่อมามีผู้ผลิตดอสตัวใหม่ที่มีชื่อว่า MS DOS ซึ่งผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ู่ ปัจจุบันที่ยังเป็นที่รู้จักได้แก่
MS-DOS เป็นระบบปฏิบัติการบนเครื่องพีซี จากบริษัทไมโครซอฟต์ สามารถใช้งานกับเครื่อง 16 บิต (เทคโนโลยีของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีการประมวลผลข้อมูลทีละ 16 บิต) ขึ้นไป โดย "MS" ย่อมาจาก Microsoft PC-DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาโดยความร่วมมือระหว่างบริษัทไมโครซอฟต์และไอบีเอ็มเพื่อให้สามารถใช้กับเครื่องไอบีเอ็มโดยเฉพาะ โดย "PC" ย่อมาจาก "Personal Computer "
Novell's DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาให้มีความสามารถทางด้านเครือข่าย ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก DR-DOS ที่สร้างโดยบริษัท Digital Research
ต่อมาได้มีการปรับปรุงโปรแกรมและได้ออกเป็นเวอร์ชั่น 1.1 และ 1.25 ตามลำดับ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1983 ได้ออกเวอร์ชั่น 2.0 ซึ่งเป็นฉบับที่ปรับปรุงครั้งใหญ่
Dos มาจากคำว่า Disk Operating Systemหมายถึงระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานประสานกัน เช่น การรับคำสั่งจากแป้นพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลลงดีสก์
การสำเนาไฟล์ การเปลี่ยนชื่อไฟล์ การจัดการเกี่ยวกับไฟล์ และอื่นๆในดอสประกอบด้วยไฟล์ต่างๆ
จำนวนมากเราแบ่งไฟล์ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ไฟล์ประเภทโปรแกรม.
2. ไฟล์ประเภทข้อความ
ส่วนประกอบของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Ms-Dos
Ms-Dos เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการที่มีขนาดเล็กสามารถเก็บไว้ในแผ่นดีสก์เพียงแผ่นเดียว
เมื่อเปิดเครื่องเพียงใส่แผ่นดีสก์ ซึ่งเรียกว่าแผ่น บูต (ฺBoot) ในดีสก์ไดรฟ์ (Disk Drive) โปรแกรม
ซึ่งประกอบด้วย
1. IO.SYS เป็นโปรแกรมระบบซึ่งควบคุมการทำงานของหน่วย Input/Output
2. MSDOS.SYS เป็นโปรกแรมระบบที่ใช้ในการเข้าถึงโปรแกรมย่อยของดอสเพื่อนำ
ข้อมูลต่างๆ ไปประมวลผลต่อไป
3. COMMAND.COM เป็นโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับคำสั่งจากผู้ใช้ และจาก
หน่วย Input ภายใน COMMAND.COM นี้จะบรรจุคำสั่งต่างๆ ของระบบปฏิบัติการ Dos
การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการ Dos
การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่
บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวเรียกว่ารอม (Rom Only Memmory)
คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึก
หรือฮาร์ดดีสก์ขึ้นสู่หน่วยความจำหลักหลังนี้จากการควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
จะถูกบรรจุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้วโปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอส
ที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมที่คำสั่งที่มีชื่อว่า Command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของ
ระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยสวิตซ์เปิดเครื่อง (Power)
2. Worm Boot คือจะใช้วิธีในขณะที่เปิดเครื่องอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้างไม่ทำงานตามที่เรา
ป้อนคำสั่งเข้าไปการบูทเครื่องแบบนี้สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกันแล้วปล่อยมือ
คำสั่ง Dos มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันที่ตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่
เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุในหน่วยความจำหลัก (Rom) ตลอดเวลา หลังจากที่ boot Dos
ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS,DIR,COPY,REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) เป็นคำสั่งที่ถูกเก็บไว้ในดีสก์หรือแผ่น Dos คำสั่งเหล่านี้
จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู่หน่วยความจำ
ถ้าแผ่นดีสก์หรือฮาร์ดดีสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้นๆได้ เช่น
FORTMAT,DISKCOPY,TREE,DELETE เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการ Windows
ระบบปฏิบัติการ Windows 95
ประวัติความเป็นมา

Windows 95 เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟ เป็นโปรแกรมที่ควบคุมระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ซึ่งได้พัฒนามาจากระบบ Windows 3.11 ด้วยประสิทธิภาพที่มีสูงกว่าระบบเดิมทำให้ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันและยังได้มีการพัฒนามาจนเป็น Windows 98 ที่เป็นที่รู้จักกัน คุณสมบัติในการจัดเก็บงานต่าง ๆ และเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานรวมไปถึงการใช้รูปภาพแทนคำสั่งและความสามารถในการรันโปรแกรมหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกันจึงทำให้ระบบปฏิบัติการ Windows เป็นที่นิยม
คุณสมบัติของเครื่องที่สามารถติดตั้ง Windows 95 ได้
o เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 80486 ขึ้นไป
o จอภาพสีชนิด VGA หรือ Super VGA
o Hard Disk ความจุอย่างน้อย 420 MB
o RAM ความจุอย่างน้อย 8 MB
ขั้นตอนและวิธีการติดตั้ง
การติดตั้ง Windows 95 สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันอาจติดตั้งโดยใช้ CD-ROM หรือ ใช้แผ่น Disk ก็ได้เราอาจแยกวิธีการติดตั้งออกเป็น 2 กรณี
1. การติดตั้ง Windows 95 กรณีเครื่องไม่มีระบบปฏิบัติการใดเลย
2. การติดตั้ง Windows 95 กรณีที่มีระบบปฏิบัติการ Windows 3.11 อยู่แล้ว
ข้อแนะนำในการติดตั้งในการติดตั้ง Windows 95 เราจะต้องมีเนื้อที่อย่างน้อย 100 MB สำหรับติดตั้งโปรแกรมและควรตรวจสอบว่าเครื่องนั้นสามารถติดตั้งได้หรือไม่ และนอกจากนั้นยังต้องเตรียมแผ่น Dos ต้นฉบับ 4 แผ่น และ Driver CD-ROM ในการติดตั้งควร Copy โปรแกรมที่ติดตั้ง Windows ไว้ใน Hard Disk แล้วจึงทำการติดตั้ง โปรแกรม

การติดตั้งในกรณีที่เครื่องมีระบบปฏิบัติการ Windows 3.11 อยู่แล้ว
1. จากระบบ Windows 3.11 เปิดโปรแกรม File Manager เพื่อเข้าสู่ห้องต้นฉบับในที่นี้สมมุติว่าอยู่ในห้อง winzip
2. เลือกคำสั่ง Setup.exe โดยการ Double Click
3. อ่านข้อความต้อนรับแล้ว ปุ่ม Continue
4. เครื่องจะทำการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์เพื่อทำการติดตั้งให้เลือกปุ่ม Yes
5. หลังจากนั้นเครื่องจะเตือนให้ปิดโปรแกรมที่ค้างอยู่ เลือกปุ่มคำสั่ง OK และเลือกปุ่ม Next ดังรูป
6. หลังจากนั้นทำการเลือก Directory แล้วเลือกปุ่ม Next เพื่อเลือกห้องอื่น
7. ในกรณีที่จะติดตั้ง 2 ระบบให้เลือก Directory อื่นที่ไม่ใช่ Windows
8. หลังจากนั้นเลือกปุ่ม Yes
9. การเลือกโหมดการติดตั้งในที่นี้ให้เลือก Typical ซึ่งเป็นการติดตั้งแบบมาตรฐานเลือกปุ่ม Next
10. ตอบคำถามต่าง ๆ โดยกรอกข้อความลงในช่องว่าง และใส่รหัสผ่านการติดตั้งกด Next ไปเรื่อย ๆ
11. เข้าสู่ขั้นตอนของการสร้างไฟล์สำคัญของระบบเลือกปุ่ม Next
12. รอจนกว่าจะถึงขั้นตอนสุดท้ายกด Finish เป็นการเสร็จขั้นตอนการติดตั้งหลังจากนั้นระบบจะทำการ Reboot เครื่องใหม่และจะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ และก็จะเข้าสู่หน้าจอ Windows 95 ก็เสร็จขั้นตอน
กรณีที่เครื่องนั้นยังไม่มีระบบปฏิบัติการใดเลย
1. ทำการติดตั้ง Dos 6.22 ทั้งหมด 4 แผ่น จะทำการ format ฮาร์ดดิสก์ให้เองโดยอัตโนมัติในกรณีที่เป็นฮาร์ดดิสก์ใหม่ หรือกรณีที่เป็นฮาร์ดดิสก์เก่าอาจใช้แผ่น Dos บูตเครื่องทำการ Format
2. ทำการ Copy โปรแกรมลงฮาร์ดดิสก์เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรมต่อไป โดยสร้างห้องขึ้นมาเพื่อเก็บโปรแกรม Setup ถ้าติดตั้งโดยแผ่นดิสต์ ก็ทำได้ทันทีแต่ในกรณีที่ติดตั้งจาก CD-ROM จะต้องทำการติดตั้ง Driver CD-ROM ก่อนจึงจะทำการติดตั้งได้
3. พิมพ์คำสั่ง Setup เราเก็บไฟล์ Setup แล้วทำตามขั้นตอนที่ 3 - 12 ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้ง

ระบบปฏิบัติการ Linux
แนะนำลีนุกซ์เบื้องต้น และประวัติความเป็นมา
ลีนุกซ์คืออะไร
ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว
ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณ มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เนต เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน

ประวัติของลีนุกซ์
ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ
ลีนุส เห็นว่าระบบมินิกซ์ (Minix) ที่เป็นระบบยูนิกซ์บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งทำการพัฒนาโดย ศ.แอนดรูว์ ทาเนนบาวม์ (Andrew S. Tanenbaum) ยังมีความสามารถไม่เพียงพอแก่ความต้องการ จึงได้เริ่มต้นทำการพัฒนาระบบยูนิกซ์ของตนเองขึ้นมา โดยจุดประสงค์อีกประการ คือต้องการทำความเข้าใจในวิชาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วยเมื่อเขาเริ่มพัฒนาลีนุกซ์ไปช่วงหนึ่งแล้ว เขาก็ได้ทำการชักชวนให้นักพัฒนาโปรแกรมอื่นๆมาช่วยทำการพัฒนาลีนุกซ์ ซึ่งความร่วมมือส่วนใหญ่ก็จะเป็นความร่วมมือผ่านทางอินเทอร์เนต
ลีนุสจะเป็นคนรวบรวมโปรแกรมที่ผู้พัฒนาต่างๆได้ร่วมกันทำการพัฒนาขึ้นมาและแจกจ่ายให้ทดลองใช้เพื่อทดสอบหาข้อบกพร่อง ที่น่าสนใจก็คืองานต่างๆเหล่านี้ผู้คนทั้งหมดต่างก็ทำงานโดยไม่คิดค่าตอบแทน และทำงานผ่านอินเทอร์เนตทั้งหมด
ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดของระบบลีนุกซ์ที่ได้ประกาศออกมาคือเวอร์ชัน 2.0.13 ข้อสังเกตในเรื่องเลขรหัสเวอร์ชันนี้ก็คือ ถ้ารหัสเวอร์ชันหลังทศนิยมตัวแรกเป็นเลขคู่เช่น 1.0.x,1.2.x เวอร์ชันเหล่านี้จะถือว่าเป็นเวอร์ชันที่เสถียรแล้วและมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเลขคี่เช่น 1.1.x, 1.3.x จะถือว่าเป็นเวอร์ชันทดสอบ ซึ่งในเวอร์ชันเหล่านี้จะมีการเพิ่มเติมความสามารถใหม่ๆลงไป และยังต้องทำการทดสอบหาข้อผิดพลาดต่างๆอยู่
ทำไมถึงต้องเป็นลีนุกซ์
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ "Running Linux" ของ Matt Welsh and Lar Kaufman
เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่ฟรี คุณสามารถจะขอจากผู้ที่มีลีนุกซ์ หรือจะดาวน์โหลดจากอินเทอร์เนต หรือบีบีเอสได้โดยไม่ผิดกฏหมาย
เนื่องจากมีผู้นิยมใช้มาก ทำให้มีผู้นำลีนุกซ์ไปแก้ไขให้สามารถใช้งานได้บนตัวประมวลผลกลางหลากหลายตั้งแต่อินเทล, โมโตโรลา, ดิจิตอลอัลฟา, พาวเวอร์พีซี, ไปจนถึง สปาร์คของซัน นอกจากนี้ยังมีผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ออกมากันมากมาย
มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูง ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิตเต็มรูปแบบ ซึ่ง สามารถจะดึงเอาพลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ออกมาได้อย่างเต็มกำลัง ลีนุกซ์ถูกพัฒนา จากผู้พัฒนานับร้อยทั่วโลก แต่ Linus จะเป็นคนวางทิศทางในการพัฒนาด้วยตัวเอง
มีคุณลักษณะของระบบ UNIX เต็มรูปแบบ และเป็นระบบหลากผู้ใช้ หลายงานอย่าง แท้จริง ลีนุกซ์มีระบบอินเทอร์เฟสแบบกราฟฟิคที่เรียกกันว่า X Windows ซึ่งเป็น มาตรฐานของระบบยูนิกซ์ทั่วๆไป และสามารถใช้ window manager ได้หลายชนิด ตามความต้องการ นอกจากนี้ยังสนับสนุนโปรโตคอลแบบ TCP/IP ,SLIP, PPP, UUCP และอื่นๆ
คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ง่าย มีเอกสารหลากหลาย (กรุณาดูข้างล่าง) และผู้คนมากมายคอยสนับสนุนคุณผ่านอินเทอร์เนต หรือคุณอาจจะหาการสนับสนุนจากบริษัทที่ปรึกษา หรือจากบริษัทผู้จัดจำหน่ายระบบลีนุกซ์ก็ได้
มีเหตุผลหลายประการที่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมผู้คนถึงชอบลีนุกซ์ แต่โดยส่วนตัวแล้ว น่าจะเป็นเพราะการพัฒนาอย่างรวดเร็วของลีนุกซ์ เนื่องจากคุณสามารถเห็นการเปลี่ยน แปลงตัวเคอร์เนล และการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ใหม่ๆออกมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่เคยพบเห็นในระบบที่แจกจ่ายฟรีแบบนี้ที่ไหนมาก่อนเลย
ผู้ใช้งานและแอพพลิเคชันบนลีนุกซ์
บรรดาผู้ใช้งานบนลีนุกซ์มีได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นระดับเคอร์นัลแฮกเกอร์ ซึ่งจะทำการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบปฏิบัติการในระดับลึก ไปจนถึงเอนด์ยูเซอร์หรือผู้ใช้ทั่วไป
คุณสามารถใช้ลีนุกซ์ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเอาไว้ทำการศึกษาระบบยูนิกซ์ หรือคุณสามารถจะศึกษาตัวอย่างการเขียนรหัสโปรแกรมที่ดีได้ หากต้องการจะใช้แอพพลิเคชันบนดอส หรือบนวินโดว์ส ลีนุกซ์ก็จะมีดอสอีมูเลเตอร์ (DOSEMU) และวินโดว์สอีมูเลเตอร์ (WINE) ให้ สำหรับอีมูเลเตอร์ทั้งสองตัวนี้ยังอยู่ในขั้นทดสอบ และยังรันแอพพลิเคชันของดอสกับวินโดว์สได้ไม่มาก แต่ทีมพัฒนาโปรแกรมทั้งสองนี้ก็ยังทำการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ และตั้งเป้าหมายว่าจะต้องรันแอพพลิเคชันของดอสกับวินโดวส์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ล่าสุดทางบริษัท Caldera ได้ทำการซื้อลิขสิทธ์ WABI 2.2 ซึ่งเป็นอีมูเลเตอร์สำหรับรันแอพพลิเคชันของวินโดว์ส ที่ใช้ในเวอร์กสเตชันของซันมาใส่ในผลิตภัณฑ์ OpenLinux ของตน
แอพพลิเคชันที่พัฒนามาเพื่อใช้งานบนลีนุกซ์ที่น่าสนใจก็มีเช่น
Emacs, Tex และ LaTeX ซึ่งซอฟท์แวร์เหล่านี้จะใช้ทำการจัดเตรียม และพิมพ์เอกสารต่างๆ
เวปบราวเซอร์ เช่น อะรีนา เนตสเคป และ โมเสค
เกมส์ต่างๆ เช่น DOOM เป็นต้น
แอปพลิเคชั่นที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นแอพพลิเคชั่นที่แจกจ่ายฟรี ผ่านทางอินเทอร์เนต แต่ในปัจจุบันสำหรับลีนุกซ์แล้วก็เริ่มที่จะมีตลาดของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีบริษัทต่างๆได้เริ่มทำการพัฒนาแอพพลิเคชันที่เป็นคอมเมอร์เชียลแวร์ ที่จะต้องจ่ายเงินซื้อหาถ้าหากต้องการใช้งานแอพพลิเคชั่นเหล่านี้มีมากมาย และผู้พัฒนาก็มีทั้งในยุโรปและอเมริกา ตัวอย่างเช่น ดาต้าเบสเซอร์ฟเวอร์ YardSQL, JustLogic SQL สเปรตชีต NEXUS และเวิร์ดโพรเซสเซอร์ WordPerfect
นอกจากนี้ยังมีผู้รวบรวมแอพพลิเคชั่นที่จำเป็น หลายๆชนิดเข้าด้วยกัน และมีการใช้งานบนระบบเดสก์ทอปวินโดวส์ ที่น่าประทับใจ เช่น Caldera Network Desktop โดยระบบนี้จะมี ระบบควบคุมเนตเวอร์ก เวปบราวเซอร์ และ เวิร์ดโพรเซสเซอร์ ฯลฯ ให้พร้อม
คุณสามารถจะสื่อสารกับอินเทอร์เนต ทำบีบีเอสส่วนตัว ทำระบบงานแบคออฟฟิศที่ใช้งานจริง ใช้ทำการศึกษา หรือแม้แต่ใช้เป็นอินเทอร์เนตเซอร์ฟเวอร์ หรือ เวปเซอร์ฟเวอร์ก็ยังได้
สิ่งที่ผู้เขียนใช้อยู่คือ ให้ลีนุกซ์เป็นอินเทอร์เนตเกตเวย์ และเวปเซอร์ฟเวอร์ ซึ่งลีนุกซ์ก็จะมียูทิลิตีต่างๆเตรียมไว้ให้ ข้อมูลที่จำเป็นในการติดตั้งทุกอย่าง ก็หาได้ง่ายจากอินเทอร์เนต เวปเซอร์ฟเวอร์ที่ผู้เขียนใช้อยู่ยังสามารถทำงานกับ CGI และจาวาได้อีกด้วย
แอพพลิเคชันอื่นๆที่ใช้งานจริงนั้นมีตั้งแต่ระบบงานโรงพยาบาล ไปจนถึงระบบค้าปลีกที่น่าสนใจคือในสิงค์โปร์ได้ใช้ลีนุกซ์เป็นเซอร์ฟเวอร์ควบคุมระบบอีเมล์ไร้สายด้วย ขอให้คุณทดลองค้นหาดู แล้วคุณจะพบแอพพลิเคชันที่ถูกใจคุณบนลีนุกซ์
การพัฒนาระบบงานบนลีนุกซ์
ลีนุกซ์ได้ทำการเตรียม เครื่องมือพัฒนาโปรแกรมให้เราไว้อย่างครบครันซึ่งจะมีตั้งแต่แอพพลิเคชันมาตรฐานคือ C/C++ คอมไพเลอร์ของ GNU และหากเราต้องการพัฒนาระบบบน X ก็มี TCL/TK เตรียมไว้ให้ด้วย
สำหรับคอมไพเลอร์ภาษาอื่นๆก็มีเช่น Perl, Smalltalk , Pascal, Lisp เป็นต้น ถ้าคุณมีความเชี่ยวชาญการเขียนโปรแกรมแบบ X-Base หรือ FoxPro บนลีนุกซ์ก็มีดาต้าเบสที่มีการเขียนโปรแกรมแบบนี้ให้เช่นกัน
และล่าสุดลีนุกซ์ก็มีจาวาคอมไพเลอร์ให้สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเขียนแอพเพลตจาวา สำหรับรันบนอินเทอร์เนตด้วย
แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับลีนุกซ์
บริษัท RedHat Software
บริษัท Caldera
บริษัท Walnut Creek
Linux Documentation Project
วารสารรายเดือน "Linux Journal"
 
ระบบปฏิบัติการ Unix
UNIX เบื้องต้น
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) คืออะไร?
"ยูนิกซ์" (UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการ หรือเรียกว่า "OS" (Operating System) ซึ่งใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ ไมโครคอมพิวเตอร์(Micro Computer) จนถึงระดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
แรกเริ่มระบบปฏิบัติการยูนิกซ ์(UNIX) ได้ถูกออกแบบโดยห้องปฏิบัติการ AT&T's Bell Lab ในปี ค.ศ.1969 ปัจจุบันยูนิกซ์ได้รับความนิยมมากเนื่องจากสามารถให้บริการผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน (Multiprocessing) โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนต่างก็ทำงานได้หลายๆ งานพร้อมๆกัน (Multitasking) อีกด้วยและผู้ใช้สามารถสร้าง เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งต่างๆได้เอง (flexible)
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ มีหลายเวอร์ชันด้วยกัน โดยแบ่งเป็น
- เวอร์ชันต้นแบบจากบริษัท AT&T ซึ่งเรียกว่า System V
- เวอร์ชันที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิรก์เลย์ ชื่อ BSD
- เวอร์ชันที่ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น
AIX โดยบริษัท IBM
AUX โดยบริษัท Apple
IRIS โดย บริษัท Silicon Graphic
Linux เป็น Freeware
OSF/I โดย บริษัท DEC
SCO UNIX โดย บริษัท SCO
SunOS โดย บริษัท SUN Microsystem
ULTRIX โดย บริษัท DEC
องค์ประกอบของระบบปฏิบัติการยูนิกส์
ระบบปฏิบัติการยูนิกส์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนที่สำคัญ คือ
1. Kernel
2. File System
3. Shell
4. Utilities
1.Kernel คือ โปรแกรมส่วนที่เป็นหัวใจหลักในการทำงานของระบบ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานภายในทั้งหมดของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เตรียมทรัพยากรของระบบและจัดสรรทรัพยากรของระบบให้แก่ผู้ใช้ จัดเก็บข้อมูล บริหารหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพ ควบคุมอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในและนอกตัวเครื่องทั้งหมด Kernel เป็นส่วนที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่อง ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามเครื่องที่มีรุ่นต่างกัน
2.File System คือ ส่วนที่ใช้จัดเก็บข้อมูล ซึ่งมักจะเป็น Hard Disk ข้อมูลจะถูกจัดเก็บเป็นกลุ่มในรูปของแฟ้มข้อมูล แฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มที่มีความสัมพันธ์กันจะถูกรวบรวมอยู่ใน directories เดียวกันและ directories เองก็ยังสามารถเก็บ directories ย่อยๆ ได้ด้วย เราเรียก directories ย่อยๆ นั้นว่า "sub-directories"
เมื่อพิจารณาจากการจัดเก็บแบบนี้กล่าวได้ว่า โครงสร้างของ UNIX File System เป็นแบบต้นไม้หัวกลับ (Inversed-Tree Structure, Reversed-Tree Structure, Hierarchical Structure)
UNIX ยังสามารถเรียกใช้อุปกรณ์ต่างๆ ให้เหมือนกับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและเรียกแฟ้มข้อมูลชนิดนี้ว่า "แฟ้มข้อมูลพิเศษ" (Special files หรือ Device files)
3.Shell หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น "Command Interpreter" คอยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับตัว Kernel จะคอยรับคำสั่งที่ผู้ใช้ใส่เข้าไปทางแป้นพิมพ์ แล้วทำการแปลความหมายของคำสั่งที่รับเข้ามาก่อนจะส่งให้ Utility ทำงาน นอกจากจะทำหน้าที่นี้แล้ว ยังสามารถนำมาเขียนเป็นโปรแกรมได้ มีการใช้ตัวแปร การตัดสินใจ โดยโปรแกรมที่เขียนขึ้นมานี้ เราจะเรียกว่า Shell Script นอกจากนี้ Shell ยังทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องกำหนดทิศทางการเข้าออกของ Input/Output อีกด้วย
4.Utilities ได้แก่ คำสั่งต่างๆ ที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเรียกใช้งานได้ เนื่องจาก UNIX ได้แยกเอาหน้าที่ที่จำเป็นไว้ในตัว Kernel ซึ่งมีผลให้ Kernel มีขนาดเล็กและเพื่อชดเชยความสามารถของ Kermel จึงได้มีการสร้าง Utilities หรือคำสั่ง เพื่อให้ผู้ใช้ทำงานได้สะดวกขึ้น ลักษณะการเรียกใช้คำสั่งจะมีมาตรฐานดังนี้
command [-option] [argument....]
โดยที่ command คือ ชื่อคำสั่ง หรือ Utility
option คือ ทางเลือกของแต่ละคำสั่งที่มีให้
argument คือ ข้อมูลที่จะส่งให้คำสั่งนำไปทำงาน
หมายเหตุ : ส่วนที่ปรากฏอยู่ใน [......] ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้
การทำงานบนยูนิกซ์
การทำงานกับระบบปฏิบัติการยูนิกส์นี้ จะไม่ได้ติดต่อกับระบบปฏิบัติการโดยตรง แต่จะติดต่อผ่านซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นตัวกลางในการแปลคำสั่งของผู้ใช้ เพื่อให้ระบบปฏิบัติการเข้าใจและทำงานได้ตรงตามความต้องการเรียกตัวกลางในการแปลคำสั่งนี้ว่า "shell" ซึ่งมีหลายแบบด้วยกัน ได้แก่
- Bourne shell มี prompt เป็น "$" เป็นแบบดั้งเดิม
- C shell มี prompt เป็น "%" ใหม่กว่าและมีคำสั่งที่คล้ายกับภาษาซีไว้ใช้งาน
- Korn Shell มี prompt เป็น "$" เป็นแบบที่รวมข้อดีของทั้งสอง shell เข้าด้วยกัน
การทำงานของระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ นั้นจะคล้ายกับระบบปฏิบัติการดอส (DOS) ที่ทุกๆคนรู้จักดี เช่น
- สามารถสร้างและลบ ไดเร็กทอรี่ย่อยๆได้
- สามารถดูได้ว่าในไดเร็กทอรี่มีไฟล์อะไรอยู่บ้าง
- สามารถสร้างไฟล์ ลบไฟล์ และแก้ไขไฟล์ได้
ข้อแตกต่างระหว่าง ยูนิกซ์ กับ ดอส คือ ยูนิกซ์สามารถทำงานได้มากกว่าหนึ่งงานในเวลาเดียวกัน (Multiprocessing) ในขณะที่ ดอส โดยปกติจะทำงานได้เพียงงานเดียว (Single tasking)
เนื่องจากในระบบยูนิกซ์ อนุญาติให้ผู้ใช้เข้าทำงานในระบบ (login) ได้มากกว่าหนึ่งคน โดยจะมีผู้ดูแลระบบที่เราเรียกว่า "root" ซึ่งมีหน้าที่ดูแลด้านความปลอดภัยของระบบ โดยจะกำหนดให้ผู้ใช้แต่ละคน มีรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง รหัสผ่านนี้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเปลี่ยนแปลงในภายหลังได้
การเข้าสู่ระบบ (Login)
ก่อนอื่นผู้ใช้ที่จะเข้าระบบได้จะต้องมี"บัญชีชื่อผู้ใช้" (User account) และ "รหัสผ่าน" (Password) ก่อนซึ่งสามารถขอได้จากผู้ดูแลระบบที่ตนเองทำงานอยู่ การเข้าสู่ระบบ (Login) สามารถเข้าได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น "แม่ข่าย" (Server) หรือเข้าจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น "ลูกข่าย" (Client) โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.เมื่อพบคำว่า login: ที่หน้าจอภาพให้พิมพ์บัญชีชื่อผู้ใช้ลงไป เมื่อพิมพ์เสร็จกดปุ่ม
2.ต่อมาหน้าจอจะปรากฏคำว่า password: ให้พิมพ์รหัสผ่านของตัวเองลงไป โดยขณะที่พิมพ์จะไม่ปรากฏตัวอักษรใดๆ ที่หน้าจอเพื่อความปลอดภัยและป้องกันคนอื่นเห็นรหัสผ่าน หากว่ารหัสผ่านที่พิมพ์ไม่ตรงกับรหัสที่มีอยู่เครื่องจะฟ้องว่า login incorrect และไม่ยอมเข้าสู่ระบบ ซึ่งจะย้อนกลับมาที่ login: อีกครั้งหนึ่ง
3.ถ้าพิมพ์รหัสผ่านถูกต้องก็จะเข้าสู่ระบบทันที โดยหน้าจอจะปรากฏข้อความประกาศต่างๆ รวมทั้ง บอกชื่อเครื่องและชื่อระบบให้ทราบ
4.เมื่อเครื่องพร้อมรับคำสั่งจะปรากฏ Prompt "$" ซึ่งเราสามารถใช้คำสั่งต่างๆ ของยูนิกซ์ได้เลย
การขอความช่วยเหลือ (Help)
ยูนิกซ์มีระบบความช่วยเหลือแบบออนไลน์ (online) เอาไว้ให้เรียกใช้หากไม่รู้คำสั่ง โดยพิมพ์คำสั่ง "$ man command" เป็นการเรียกดูการใช้คำสั่งนั้นทางจอภาพและหากเราไม่ทราบคำสั่งที่แน่นอนก็สามารถใช้คำสั่ง "man" ในการค้นหาคำสั่งที่ต้องการจากคีย์ได้ เช่น man -k คำที่ต้องการค้น เครื่องก็จะแสดงรายชื่อคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับคำนั้นมาให้ Example ต้องการดูวิธีใช้คำสั่ง mkdir ให้พิมพ์คำสั่งว่า "$ man mkdir" แล้วกด <ENTER>
เทคนิคการตั้งรหัสผ่าน (Password)
1.ห้ามใช้ชื่อเล่น นามสกุล ชื่อเพื่อน ชื่อแฟน เลขทะเบียนรถ หมายเลขโทรศัพท์ ฯลฯ เพราะจะทำให้ผู้ที่ประสงค์ร้ายสืบหาหรือเดาได้ง่าย
2.ควรประกอบด้วยอักษร ตัวเลข และเครื่องหมายวรรคตอนปะปนกัน
3.ควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 ตัวอักษร
4.ควรเปลี่ยนรหัสผ่านทุก ๆ 2 เดือน
5.ควรหาวิธีการจำรหัสผ่านที่ดีและไม่บอกหรือปล่อยให้ผู้อื่นรู้ได้ง่าย
การออกจากโปรแกรม
ในขณะที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บางครั้งผู้ใช้ต้องการหยุดทำงานโปรแกรม ในขณะที่ RUN โปรแกรมอยู่ให้กด ctrl-\ หรือกดแป้นพิมพ์ ctrl-d โดยปกติการกด ctrl-d จะเป็นการจบการทำงานโดยอัตโนมัติ และการกด ctrl-c เป็นการหยุดการทำงานในขณะนั้น
การออกจากระบบ
เมื่อจบสิ้นการทำงานหรือต้องการออกจากระบบสามารถทำได้โดยการใช้คำสั่ง "$ logout" หรือ "$ exit" เพื่อออกจากระบบปฏิบัติการยูนิกส์
ไดเร็กทอรี่ของระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
จะมีไดเร็กทอรี่ "/" เป็นไดเร็กทอรี่ราก และจะมีไดเร็กทอรี่ย่อยๆอีก คือ
- etc อื่นๆ
- usr ผู้ใช้
- var ตัวแปร
- export ส่วนเพิ่มเติม
- home ข้อมูลผู้ใช้
- bin คำสั่งของผู้ใช้ทั่วไป
- sbin คำสั่งของระบบ
กฎเกณฑ์การตั้งชื่อไฟล์และไดเร็กทอรี่
ระบบปฏิบัติการ UNIX จะมีกฏเกณฑ์ในการตั้งชื่อ file หรือ directory เหมือนกัน คือ
1.ใช้เครื่องหมายสแลช(Slash) "/" แทนรากไดเร็กทอรี่ (root directory) ซึ่งอยู่ด้านบนสุด โดยรากไดเร็กทอรี่จะประกอบด้วยไฟล์หรือไดเร็กทอรี่ย่อย (Sub-directory)
2.ชื่อไดเร็กทอรี่แยกด้วยเครื่องหมาย "/" เช่น /usr/home
3.ชื่อไฟล์และไดเร็กทอรี่ยาวได้ถึง 14 ตัวอักษร หรือมากกว่านั้น ซึ่งสามารถประกอบด้วยตัวอักษรตัวเล็กหรือใหญ่ ตัวเลข และเครื่องหมาย "-" และ "." ได้ ยกเว้น ตัวอักษรเหล่านี้ & 8 ( ) ; ' " ' , < > / |
4.การตั้งชื่อโดยใช้ตัวอักษรใหญ่หรือตัวอักษรเล็กจะต่างกัน ระวังจะสับสนได้
5.ใน Shell จะรับคำสั่งรวม argument หรือชื่อที่สั่งให้คำสั่งทำงานได้ไม่เกิน 255 ตัวอักษร
การอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล หรือชื่อ Directory
ระหว่างชื่อแฟ้มข้อมูล กับ directory หรือระหว่างชื่อ directory กับ directory จะใช้เครื่องหมาย '/' เป็นตัวคั่น และการอ้างชื่อทำได้ 2 วิธี คือ
1. Absolute Path Name ได้แก่ การอ้างชื่อเต็มของสิ่งที่ต้องการ ตั้งแต่จุดยอดของระบบแฟ้มข้อมูล (Root) ซึ่งแทนด้วยเครื่องหมาย '/' ได้แก่ /unix /etc/passwd
2.Relative Path Name ได้แก่ การอ้างชื่อสิ่งที่ต้องการโดยมีการสัมพันธ์กับตำแหน่งปัจจุบันที่อยู่ในขณะนั้น และมีสัญญลักษณ์เพิ่มเติมอีก 2 ตัวดังนี้
. (current directory) - แทน directory ปัจจุบันที่เราอยู่
.. (parent directory) - แทน directory ที่อยู่เหนือขึ้นไป 1 ระดับ
หมายเหตุ : ชื่อข้อมูลใดที่ขึ้นต้นด้วย '.' เรียกว่า "hidden files" เช่น .profile, .cshrc
Home Directory ทุกครั้งที่ผู้ใช้ login เข้าสู่ระบบปฏิบัติการแล้ว ผู้ใช้จะอยู่ภายใต้ directory หนึ่งเสมอ ซึ่งเรียกว่าเป็น "Home Directory" หรือเทียบได้กับบ้านของผู้ใช้คนนั้น
Home directory มักจะใช้รหัสผู้ใช้ (login name) เป็นชื่อ directory ด้วย เช่น
ผู้ใช้ obojama Home directory /home/obojama
ผู้ใช้ suchart Home directory /home/suchart


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลีนุกซ์

ลีนุกซ์คืออะไร
ลีนุกซ์เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท ระบบปฏิบัติการ ตระกูลหนึ่ง ระบบปฏิบัติการที่เราคุ้นเคยกันมาก่อน คือ Dos, Windows 3.11, Window95, Windows98, Unix ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภท Unix หรืออาจเรียกว่ายูนิกซ์โคลนที่ใช้งานบนเครื่อง PC แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานบนเครื่อง PC เพียงอย่างเดียว สามารถใช้งานได้บนเครื่องตระกูลอื่นด้วย เช่น Sun Sparc, Macintosh ฯลฯ ความเป็นมา ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1991 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Torvalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ โดยได้พัฒนามาจากระบบปฏิบัติการ Minix ซึ่งเที่เป็นระบบยูนิกซ์บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งตอนแรกเป็นเพียงโครงงานที่เขาทำส่งอาจารย์สมัยเรียนปริญญาตรีเท่านั้น แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาต่อ เขาก็ได้ทำการชักชวนให้นักพัฒนาโปรแกรมอื่นๆมาช่วยทำการพัฒนาลีนุกซ์ ซึ่งความร่วมมือส่วนใหญ่ก็จะเป็นความร่วมมือผ่านทางอินเทอร์เนต ลีนุสจะเป็นคนรวบรวมโปรแกรมที่ผู้พัฒนาต่างๆ ได้ร่วมกันทำการพัฒนาขึ้นมาและแจกจ่ายให้ทดลองใช้เพื่อทดสอบหาข้อบกพร่อง และทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตทั้งหมด ปัจจุบันพัฒนา มาถึงรุ่น 2.3 และจะพัฒนาต่อไป อย่างไม่หยุดยั้งเพราะลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดเผยต้นฉบับโปรแกรม(Source Code) ทำให้เราสามารถแก้ไขปรับปรุงด้วยตัวเราเองได้ ถ้าเรามีความรู้หรือสามารถเขียนโปรแกรมนั้นได้

ลีนุกซ์ดีอย่างไร
1. เป็นซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการที่ฟรี สามารถดาวน์โหลดได้ทางอินเตอร์เน็ต สามารถใช้ได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย คำว่า ฟรีนี้หมายถึงอย่างไร
เป็นที่ทราบกันแล้วว่าเป็นโปรแกรมที่เปิดเผยต้นฉบับโปรแกรม (Source Code) แต่ลิขสิทธิ์ก็ยังเป็นของ ลีนุส โทรวัลด์ส โดยอนุญาตให้ใครๆก็สามารถใช้ลีนุกซ์ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ สามารถทำการคัดลอก แจกจ่ายได้ แต่ห้ามคิดค่าโปรแกรมลีนุกซ์ สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ แต่ห้ามนำเวอร์ชันที่เราปรับปรุงไปแจกจ่ายให้ผู้อื่น ถ้าต้องการนำไปแจกจ่ายสู่สารธารณชนจะต้องนำส่วนที่เราแก้ไขปรับปรุงนี้ส่งใหเคุณ ลีนุส โทรวัลด์ส พิรารณาก่อน มีองค์กรที่ดูแลเรื่องนี้อยู่ คือ GNU Public licence
2. สามารถใช้งานได้ CPU หลายตระกูล Intel, AMD, Motorola, Digital Alfa, PowerPC, Sun Sparc สรุปคือ ลีนุกซ์ไม่ใช่สามารถรันบนเครื่อง PC ได้เพียงอย่างเดียว เครื่อง Macintosh เครื่อง Sunก็สามารถรันได้
3. ลีนุกซ์เป็น Unix เต็มรูปแบบ เป็นระบบ Multi User Multi Task คือใช้งานได้คราวละหลายๆคน และทำงานได้คราวละหลายๆ งาน
4. ลีนุกซ์มีระบบการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก ที่เรียกว่า X-Windwow เป็นมาตรฐาน สามารถใช้ Windows manager ได้หลายชนิดหมายถึง ลักษณรูปร่างหน้าตาของ Desktop จะเลือกใช้แบบไหน ชอบแบบไหนก็เลือกลงได้ตามใจคุณ
5. สนับสนุน โปรโตคอลแบบ TCP/IP, SLIP, PPP, UUCP และอื่นๆ
6. ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิท มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูง คือ เครื่องไม่แฮงค์บ่อย

โปกรมระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง
โปรแกรมระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ประกอบด้วย
1. ตัวระบบปฏิบัติการ หรือเคอร์เนล (kernel)
2. ไลบรารีของระบบ
3. ยูทิลิตี้ของระบบ และการจัดการระบบ
ตัวระบบปฏิบัติการ (kernel)
ทำหน้าทีหลักในการจัดการทรัพยากรต่างๆของระบบ เช่นหน่วยความจำ การจัดคิวสำหรับโปรแกรมต่างๆ การจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ซีดีรอม การ์ดแลนด์ พอร์ตอนุกรม พอร์ตขนาน การ์ดพีซีไอ การ์ดแสดงผล ฮาร์ดดิสก์ รวมถึงการจัดระบบแฟ้มข้อมูล
เคอร์เนลเราสามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.kernel.org
ไลบรารีของระบบ เป็นที่เก็บรวบรวมฟังก์ชันมาตรฐานที่ใช้ติดต่อกับเคอร์เนล ทำให้โปรแกรมที่ไปติดต่อกับระบบผ่านฟังก์ชันมาตรฐานเหล่านี้
ยูทิลลิตี้ของระบบ และการจัดการระบบ ส่วนนี้ประกอบด้วยโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการระบบในส่วนต่างๆ เช่นระบบไฟล์ ผู้ใช้งานระบบ โมดูล ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบเน็ตเวิร์กฯลฯ

ใช้เคอร์เนลรุ่น(เวอร์ชัน)ไหนดี
เคอร์เนลเวอร์ชันปัจจุบัน 2.6.X เวอร์ชันของเคอร์เนลประกอบด้วยคัวเลข 3 ชุด x.x.x ตัวเลขตัวแรกเป็น เวอร์ชันหลัก ตัวที่สองเวอร์ชันรอง ตัวที่ 3 เป็นการปรับปรุงครั้งที่ของเวอร์ชันนั้น เวอร์ชันหลักจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือได้รับการพัฒนาแตกต่างไปจากเดิมไปอย่างมาก ตัวเลขชุดที่ 2 ตัวเลขชุเนี้บอกว่าเคอร์เนลอยู่ระหว่างพัฒนา ให้ดูว่าถ้าเคอร์เนลที่เสถียรจะเป็นเลขคู่ ถ้าตัวเลขไม่เสถียรจะเป็นเลขคี่ เช่น 2.4.x จะเป็นเคอร์เนลที่เสถียร ส่วน 2.5.x นั้นเป็นเคอร์เนลที่ไม่เสถียร ส่วนตัวเลขชุดที่ 3 บอกครั้งที่ของการปรับปรุงเคอร์เนลในเวอร์ชันนั้นๆ

Linux Distribution
จะเห็นได้ว่าเรามีลีนุกซ์หลายค่ายด้วยกัน เช่น Redhat, SuSe, Mandrake, Debian, Slackware ฯลฯ เหล่านี้เราเรียกว่า Distribution คือ การรวบรวมโปรแกรมต่างๆของลีนุกซ์ ไม่ว่าจะเป็น เคอร์เนล ไลบรารี่ฃของระบบ ทูลสำหรับดูแลระบบ และโปรแกรมที่ใช้งานทั่วๆไปเข้าด้วยกัน แล้วใส่ระบบการติดตั้งให้ใช้งานง่ายขึ้น ซึ่งทำให้แต่ละค่ายมีข้อเด่นข้อด้อยต่างกันไป เช่น Redhat จะติดตั้งง่ายเพราะมีโปรแกรมที่สามารถตรวจสอบฮาร์ดแวรที่เราใช้อยู่ได้ถ้ามันรู้จักมันก็ติดตั้งไดร์เวอร์ให้
ทำให้การติดตั้งง่ายขึ้นส่วนการใช้งานก็มีการใช้ไฟล์แบบ RMP(Redhat Package Management) ทำให้ติดตั้งโปรแกรมได้ง่าย
คำสั่ง Linux พื้นฐาน เทียบกับ Dos

C:\>COPY JOE.TXT JOE.DOC
C:\>COPY *.* TOTAL
C:\>COPY FRACTALS.DOC PRN
C:\>DEL TEMP
C:\>DEL *.BAK
C:\>MOVE PAPER.TXT TMP\
C:\>REN PAPER.TXT PAPER.ASC
C:\>PRINT LETTER.TXT
C:\>TYPE LETTER.TXT
C:\>TYPE LETTER.TXT
C:\>TYPE LETTER.TXT > NUL
n/a
n/a
C:\>DELTREE TEMP
C:\>MD TEMP
C:\>RD TEMP
C:\>CD TEMP    
$ cp joe.txt joe.doc
$ cat * > total
$ lpr fractals.doc
$ rm temp
$ rm *~
$ mv paper.txt tmp/
$ mv paper.txt paper.asc
$ lpr letter.txt
$ more letter.txt
$ less letter.txt
$ cat letter.txt > /dev/null
$ more *.txt *.asc
$ cat section*.txt | less
$ rm -rf temp
$ mkdir temp
$ rmdir temp
$ cd temp

สร้าง Emergency Boot Disk
เพื่อใช้สำหรับ กรณีฉุกเฉิน ที่ไม่สามารถ Boot จาก Linux ได้ นอกจากนั้น ยังใช้สำหรับ แบ่ง Harddisk โดยใช้โปรแกรม FIPS ด้วย ถ้าท่านใช้ Windows95 อยู่ ให้ดำเนินการ ดังนี้ คลิกที่ Start --- Settings --- Control panel --- Add/Remove Software และเลือกที่ Startup Disk Tab ใส่แผ่น Diskที่ Drive A (ควรเป็นแผ่นDisk ที่ดีที่สุด) แล้วคลิกที่ Create Disk Windows95 จะดำเนิน การสร้าง แผ่น Boot ระบบ ขึ้นมา จากนั้น ให้ไปที่ CDROM Directory D:\dosutils เพื่อ Copy ไฟล์ Fips.exe และ restorrb.exe ไปไว้ในแผ่น Disk หรือ download จาก อินเตอร์เน็ต กรณีที่ใช้ Windows 95 OSR 2, Windows 98 บน Harddisk ที่เป็น FAT 32 ให้ Download fips15c.zip มาใช้งาน
การแบ่งเนื้อที่ Harddisk

 • การแบ่ง Harddisk ก็เพื่อให้สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ 2 ระบบ ลงใน Harddisk ตัวเดียวกัน
 • การแบ่ง Harddisk โดยใช้โปรแกรม FIPS นี้ จะไม่ทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ใน Harddisk สูญหาย แต่ถ้ามีข้อมูลที่สำคัญ ควรทำการสำรอง ข้อมูลนั้นไว้ก่อน
 • ก่อนดำเนินการแบ่ง Harddisk ให้ใช้โปรแกรม Norton Diskdoctor และ Norton speedisk หรือโปรแกรมในลักษณะเดียวกันนี้ เช่น Scandisk, Defrag ใน DOS เพื่อตรวจสอบและจัดเรียงไฟล์ใน Harddisk ก่อน
 • บูทเครื่องด้วยแผ่น Emergency Disk ที่ A:\> พิมพ์ FIPS แล้วกดปุ่ม Enter
 • จะมีข้อความแสดงคำเตือน และลิขสิทธ์ของโปรแกรม FIPS และมีคำว่า Press any key ให้กดปุ่ม Enter
 • แล้วจะแสดง Partition Table ของ Harddisk ขึ้นมา และมีคำว่า Press any key ให้กดปุ่ม Enter
 • จะแสดง ข้อมูลของ Boot Sector
 • จะปรากฏข้อความ Do you want to make a backup copy of your root and boot sector before proceed (Y/N) ให้กดปุ่ม Y
 • จะปรากฏข้อความ Do you have a bootable floppy disk in drive A: as described in the documentation (Y/N) ให้กดปุ่ม Y โดยแผ่น Emergency disk นี้ จะต้องใม่ write protect จากนั้นจะทำการ Backup ข้อมูล ลงใน Disk มีชื่อไฟล์ว่า rootboot.000
 • จากนั้นจะปรากฏข้อความ

Enter start cylinder for new partition (366-619):
Use the cursor key to chooes the cylinder, to continue
Old partition   Cylinder   New partition
720.6 MB   366   500.1 MB

 • ให้เลื่อนลูกศร ขวา,ซ้าย เพื่อเลือกขนาด ของ New partition เมื่อได้ขนาดตามต้องการแล้ว ให้กดปุ่ม Enter ในที่นี้ให้กำหนดไว้ที่ 420 MB
 • จากนั้นจะแสดงรายละเอียดของ Partition table ใหม่ ที่ทำการแบ่ง Harddisk แล้ว ให้ตรวจสอบว่า มีขนาดตามที่ต้องการหรือไม่
 • จะมีข้อความ Do you want to continue or reedit the partition table (C/R)? ให้กดปุ่ม C
 • โปรแกรมจะแสดงรายละเอียดของ New boot sector และท้ายที่สุดจะมีข้อความว่า Ready to write new partion scheme to disk . Do you want to proceed (Y/N)? ให้กดปุ่ม Y
 • ท้ายที่สุด จะมีข้อความ Bye! และจะออกไปที่ A:\>
 • ให้ปิดเครื่องและเปิดเครื่องใหม่ โดยบูทระบบด้วยแผ่น Emergency Disk
 • ตรวจดูว่า Harddisk หลังจากการแบ่งมีเนื้อที่ลดลงหรือไม่
 • ที่ A:\> พิมพ์ FDISK เพื่อเรียกโปรแกรม FDISK ของ Dos Window95 ขึ้นมา
 • ให้กดเลข 4 แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อแสดง Partition table จะเห็นว่า มี Partition ที่ 2 เกิดขึ้น มีขนาดตามที่ได้แบ่งเอาไว้ และเป็นประเภท Pri Dos
 • จากนั้นให้กดปุ่ม Esc เพื่อกลับ รายการหลัก
 • ให้กดเลข 3 แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อลบ Partition
 • ให้กดเลข 1 แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อลบ Primary Dos Partition
 • ให้กดเลข 2 แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อลบ Partition 2 ออก *** สำคัญมาก ห้ามกดผิด****
 • กดปุ่ม Enter ที่ Volume label
 • กดปุ่ม Y ที่ are you sure (Y,N)
 • กดปุ่ม Esc เพื่อออกไปรายการหลัก แล้วกดเลข 4 เพื่อแสดง Partition จะพบว่า ไม่มี Partition ที่ 2 แต่อย่างใด
 • ออกจากโปรแกรม โดยกดปุ่ม Esc
 • การแบ่ง Harddisk ที่ติดตั้ง Windows95 osr2 หรือ Windows 98 ที่มี FAT 32 คงไม่อาจจะใช้ โปรแกรม Fips แบบธรรมดาได้ จะต้องทำการ Download fips15c.zip มาใช้แทน หากไม่ถนัดก็สามารถใช้ โปรแกรม Partition magic มาทำการแบ่ง Harddisk แทน
ยกเลิกการแบ่ง Harddisk

 • ใส่แผ่น Emergency Disk ที่ Drive A และ บูทเครื่องใหม่
 • ที่ A:\> พิมพ์ RESTORRB แล้วกดปุ่ม Enter (ในแผ่น Emergency Disk จะต้องมีไฟล์ rootboot.000)
 • จะปรากฏข้อความบางส่วน ดังนี้

Found save A:\ rootboot.000
Ready to writ old root- and boot sector from file A:\ rootboot.000 to disk
Do you want to proceed (Y/N):

 • ให้กดปุ่ม Y เพื่อคืนค่า Partition เดิมให้กับ Harddisk
 • จะกลับออกไปที่ A:\> เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
 • ดึงแผ่น Emergency Disk ออก แล้วบูทเครื่องใหม่ และตรวจสอบดูว่า Harddisk มีพื้นที่เท่าเดิมหรือไม่
การอ่าน/เขียน Floppy Disk
การที่จะติดต่อ กับ Floppy disk เพื่อทำการอ่านหรือเขียน ข้อมูลจะต้องทำการ mount เพื่อติดต่อกับอุปกรณ์นั้น ไปไว้ยัง directory ใดๆ ก็ได้ แต่ควรจะเป็น directory ว่างๆ
การ Mount Linux diskettes ใช้คำสั่ง
[root@localhost /]# mount /dev/fd0 /mnt
หรือ
[root@localhost /]# mount -t ext2 /dev/fd0 /mnt
การ Mount DOS diskettes ใช้คำสั่ง
[root@localhost /]# mount -t msdos /dev/fd0 /mnt
หรือ
[root@localhost /]# mount -t vfat dev/fd0 /mnt
หลังจาก ทำการ mount แล้ว ให้ย้ายไปที่ /mnt โดยใช้คำสั่ง cd /mnt ใช้คำสั่ง ls เพื่อดู files แล้วทำการ copy files ไปยัง directory ที่ต้องการ ส่วนการเขียน files ลง disk ให้ทำการ copy files ที่ต้องการ ไปยัง directory /mnt
การยกเลิกการ Mount ให้ออกจาก /mnt ก่อน แล้วใช้คำสั่ง
[root@localhost /]# umount dev/fd0
การอ่าน จาก CD-Rom
มีวิธีการเหมือนกันกับ การอ่าน จาก floppy disk
สำหรับ Redhat Linux:
[root@localhost /]# mount -t iso9660 /dev/cdrom /mnt/cdrom
สำหรับ Slackware, และ Debian
[root@localhost /]# mount -t iso9660 /dev/cdrom /cdrom
การอ่าน/เขียนจาก Partition Windows95 หรือ Dos
มีวิธีการเหมือนกันกับ การอ่าน จาก floppy disk
ให้สร้าง directory /mnt/dosdisk หรือเลือกdirectory อื่นๆ ที่ว่าง เพื่อทำการ mount ไปยัง directory นั้น
[root@localhost /]# mkdir /mnt/dosdisk
จากนั้นทำการ mount
[root@localhost /]# mount -t msdos /dev/hda2 /mnt/dosdisk
หรือ
[root@localhost /]# mount -t vfat /dev/hda2 /mnt/dosdisk
การ mount แบบ vfat คือการ mount เพื่ออ่านชื่อไฟล์ แบบ long filesname
/dev/hda2 คือ partition windows95 ที่ต้องการ mount เพื่ออ่าน/เขียนข้อมูล
การติดตั้ง Software บน Linux
ในส่วนนี้จะแนะนำวิธีการเบื้องต้นในการติดตั้ง software บน linux (อาจจะไม่ใช่ วิธีการที่ถูก หลักการนัก)
1.ส่วนใหญ่ที่พบ มักจะให้โปรแกรมมาในลักษณะ source code ซึ่งจะต้องนำมาทำการ compile และติดตั้งเอง วิธีการคือ download มาแล้วทำการขยายไฟล์ ลงบน /usr/local ใช้ได้ทั้ง redhat และ slackware
1.1 download หรือ copy ไฟล์ที่ต้องการไปไว้ที่ /usr/local แล้วทำการขยายไฟล์ โดยใช้คำสั่ง tar xvfz ชื่อไฟล์ และนามสกุล เช่น tar xvfz kget-0.5.tar.gz
1.2 download ไว้ที่ directory ใดก็ได้ แล้วใช้คำสั่ง tar xvfz ชื่อไฟล์ -C /usr/local เช่น tar xvfz kget-0.5.tar.gz -C /usr/local ในที่นี้ /usr/local คือ directory ปลายทาง ที่กำหนด
2.หลังจาก ขยายไฟล์แล้ว จะมี directory เพิ่มขึ้นมา เช่น /usr/local/kget-0.5 ให้เข้าไปใน directory นั้นๆ แล้วอ่านคำแนะนำที่ไฟล์ README หรือ INSTALL จากนั้นใช้คำสั่งด้งนี้ ในการ compile
./configure
make
make install
3.หลังจากติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว สามารถลบ directory ที่เป็น source code ออกได้
4.อีกกรณีหนึ่ง สำหรับ redhat โดยเฉพาะ จะเป็นไฟล์ นามสกุล rpm (ความจริง slackware ก็สามารถติดตั้ง rpm ได้ แต่ต้องมี โปรแกรมช่วยแปลง) ให้ download ไฟล์ที่ต้องการไปไว้ที่ directory ใดก็ได้
5.ใช้คำสั่ง rpm -ivh ชื่อไฟล์ เช่น rpm -ivh qt-1.41-1rh51.i386.rpm เพื่อทำการติดตั้ง
6.ถ้าสังเกตุต่อไปจะพบว่า rpm มี 2 แบบคือ แบบ binary จะลงท้ายด้วย i386.rpm ถ้าพบแบบนี้ เมื่อติดตั้งแล้ว จะใช้งานได้เลย อีกแบบคือ source code จะลงท้ายด้วย src.rpm เข้าใจว่า จะต้องทำการ compile อีกครั้ง (ยังไม่เคยทดลอง เลยบอกไม่ได้ว่า ต้องทำอย่างไรบ้าง)
7.จะพบว่า บางครั้ง เขาจะระบุไว้เลยว่า จะต้องมี software ตัวนี้ ก่อนที่จะทำการติดตั้ง เช่น จะติดตั้ง โปรแกรม licq เขาจะกำหนดไว้เลยว่า จะต้องใช้ qt เวอร์ชั่น 1.40 ขึ้นไป ต่ำกว่านี้ จะไม่สามารถติดตั้งได้ ถ้าลองดูก็จะพบ error


หวังว่าคงได้ความรู้...กันไม่มากก็น้อยนะครับ... :001:

Present by siamcafe.net ๛sc


ออฟไลน์ softxg

  • µ¹à»ç¹·Õè¾Öè§àËç¹µ¹
  • มหาลัยรัฐบาล
  • ******
  • กระทู้: 313
  • Reputation: 0
  • เพศ: ชาย
  • µ¹à»ç¹·Õè¾Öè§áË觵¹
    • ʹã¨àÅÕ駻ÅÒ µÔ´µèÍ ÃÒªÒ»Åҷͧä´é¤ÃѺ
ขอบคุณครับ ได้ความรู้ ไว้สำหรับเด็กรุ่นใหม่ๆ นะครับ
เพราะผมคิดว่า เด็กยุคใหม่คงไม่ค่อยมีคนรู้จัก Dos > command prompt กันแล้ว
เรียนคอมครั้งแรกสมัยนี้ ก้อลาก mouse บน windows กันเลยมั้ง
Signature cleanned by Admin

ออฟไลน์ Admin!

  • อยู่ใต้ฟ้าอย่าท้าฝน เกิดเป็นคนอย่าท้ากรรม !
  • admin
  • *
  • กระทู้: 4182
  • Reputation: 101
  • เพศ: ชาย
  • สัจจะคือคำขาด
    • http://www.siamcafe.net
ขอบคุณครับ ได้ความรู้ ไว้สำหรับเด็กรุ่นใหม่ๆ นะครับ
เพราะผมคิดว่า เด็กยุคใหม่คงไม่ค่อยมีคนรู้จัก Dos > command prompt กันแล้ว
เรียนคอมครั้งแรกสมัยนี้ ก้อลาก mouse บน windows กันเลยมั้ง
เหมือนระลึก..ความหลังครั้งยังหนุ่มๆยังไงงั้นเลยแฮะ...สำหรับผมนะ...


dos ยังจะใช้อยู่บ้างครับปัจจุบันอาทิ flashbios ผ่าน dos ประมาณนั้น....ก่อนหน้านั้นก็จอเขียวๆหละครับท่านจำได้แม่นเลย..เล่นเกมส์รถแข่ง...เหลี่ยมๆๆกับแผ่น...บางๆหนาๆๆ 5 นิ้ว.555  ( ถ้าเรียนมหาลัย..ผมก็คงรุ่น..เดอะ..รุ่นหนึ่งเหมือนกัน...รุ่น..แก่แล้วฮ่าๆๆ  chuchu

สมัยนู่นใครที่มี CD R-W ความเร็ว 1X นี่ถือว่ารวยมากๆเพราะราคาหลักหมื่นเลย...write แค่1 X นี่หละ..เชื่อไหมหละ...เด็กรุ่นหลังๆคงไม่ทัน...จำได้ว่ามี Pioneer รุ่นหนึ่งใช้ดีมากๆเลยด้วย...หลังจากรุ่น 1 X แล้วนะ..เทคโนโลยี่..ของ IT นี่..ไว..มากๆ..ถ้าเทียบกับสมัยผมเล่นคอมใหม่ๆนะ...ฟ้ากับเหวเลย..

 ผมจำได้เลยสมัย windows 3.11 ยังต่อเนตด้วย thumpet winsock อยู่เลย ( สะกดจะไม่ถูกแล้วผม..นานจัด 555 ) สมัยนู้น..ที่ผมเล่น windows 95 ใหม่ๆ แหะๆไม่อยากจะบอกเลยว่าแฮบ..user ของ samart กับเนตตามมหาลัย..สมัยนู่น...28.8 k กับ 33.6 ผมจำได้เลยมี modem US.robotics ด้วยนะ..เทพโคตรๆสมัยนู้น...33.6. ด้วยแรงมะ ( 33.6 K นะ ) :021: เด็กรุ่นใหม่ๆคงไม่เคยเห็น..แล้วมั้ง..ผมยังเก็บไว้อยู่เลย..เพราะว่ามันเทพจริงๆสมัยนู้นนะ..เกือบๆ 10 ปีได้ :P

..มี P166 ram 32 นี่ถือว่าเทพมากๆแล้วครับสมัยนู้น...บอกไปจะมีใครเชื่อมี้ยเนี่ย แสนหกหมื่นกว่า..จอ อ้วนๆ ..ตอนนี้ยังเปิดได้อยู่เลยผมเก็บไว้เป็นที่ระลึกหนะครับเคสใหญ่แบบ...สุดๆๆๆ หนักสุดๆด้วย..ใครอยากเห็นไว้ผมกลับไปที่บ้านฝั่งธน..จะถ่ายรูปมาให้ชม...ฮ่าๆเครื่อง..ขึ้นครูผมเลยสมัยนู้น O/C จาก p166 เป็น 200 ได้แหม..เร็วแล้วนะนั่น..เทียบกับสมัยนี้ต่างกันเป็น 100 เท่า..

อิจฉาเด็กรุ่นใหม่จริงๆได้ใช้คอมราคาถูกๆกัน..