เปิดรับสมัครสมาชิก webboard ตามปกติแล้วครับ

ผู้เขียน หัวข้อ: มาว่ากันเรื่องรับเด็กก่อน 14.00 น. ช่วงปิดเทอม  (อ่าน 4480 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

trazano

  • บุคคลทั่วไป
มาว่ากันเรื่องรับเด็กก่อน 14.00 น. ช่วงปิดเทอม
บางจังหวัด มีการเลื่อนอายุของเด็กจาก 18 ปี เป็น 20 ปีบ้าง 25 ปีบ้าง เพราะการตีความที่เอาความรู้สึกไปตีความ ไม่ยึดหลักของกฏหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ ๒๕๔๖"
เค้าใช้ พรบ. นี้จัดการเรื่องเด็กกับพวกเรา ประเทศไทย ไม่มี พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กและเยาวชน ครับท่าน    แต่ถ้ามีกรุณาโพสต์บอกผมด้วย

“เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
เห็นหรือเปล่าครับ ชัดเจน เขียนภาษาไทย ไม่ได้เขียนภาษาเยอรมัน หรือภาษาขอมว่า ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ 1-17 ปี กับอีก 11 เดือน (วันไปนับเอาคับ)

มาตรา ๒๖  ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้
(๓) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด

“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  ( กฏกระทรวง )


จะเห็นว่า ทาง พม. เองก็ได้จำกัดความไว้เรื่องเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดไว้ค่อนข้างชัดเจนแล้ว แต่ช่องว่างของคำที่เปิดไว้คือ ช่องว่างใน พรบ.คุ้มครองเด็ก มาตรา ๒๖ (๓) นี่เอง เพราะมันกว้าง และต้องสู้กันในชั้นศาล แต่หากผู้ประกอบการพูดคุยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าใจถึงเหตุผลต่างๆ ที่กฏกระทรวงฉบับที่ ๑๒ แจ้งไว้ เพราะว่า เด็กที่มาใช้บริการในช่วง ก่อน ๑๔.๐๐ น. หรือบ่าย ๒ โมงนั้น ในช่วงปิดเทอม ก็ชอบด้วยกฏหมาย ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้ว ( ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ) ที่ว่าวันปิดภาคเรียนเป็นวันพักผ่อนของนักเรียน แต่คณะกรรมการที่ร่างแนวทางข้อระเบียบมหาดไทย ไม่ได้กำหนดไว้ เนื่องจาก ยุคปัจจุบัน ในช่วงปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่มักส่งลูกหลานให้ไปเรียนพิเศษ ทางคณะกรรมการจึงคำนึงถึงประเด็นนี้ด้วย จึงมิได้กำหนดวันปิดเทอมไว้ด้วย  แต่หากมองในด้านกลับกัน หากผู้ประกอบการสามารถพิสูจน์ได้ว่าเด็กคนนั้นมิได้หนีเรียน (ปิดเทอมมันจะไปหนีทำไม)

ถึงตอนนี้ผมว่า อยู่ในดุลยพินิจของเจ้าของร้านแล้วล่ะครับว่า จะรับ หรือ ไม่รับ เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ช่วงปิดเทอม เพราะการแก้ปัญหาตรงนี้คงต้องไปแก้ที่ต้นทางของกฏหมาย คือที่กระทรวงมหาดไทย หากจะแก้ในช่วงนี้ก่อนเพื่อจะได้ทำกินกันแบบสบายใจ มันก็ยังพอมีทางครับ คือเจรจากับ ๑.เจ้าหน้าที่ตำรวจ ๒.เจ้าหน้าที่วัฒนธรรม ๓.ผู้ว่าราชการจังหวัดของท่าน ในส่วนของ กทม. ไม่ยากครับ นัดกันไปเจอที่ สวช. ในวันทำงาน แล้วไปคุยกับ นายทะเบียนกลาง (ตรงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รัชดา) ผมว่าเจ้าหน้าที่ตรงนั้น พอคุยกันได้ครับ  แต่ถ้าเป็นผม...เอออ..ถ้าโรงเรียนปิดเทอม ผมรับหมดครับ แต่ ๒๒.๐๐ น. ไล่ออกจากร้าน ถ้าโดนจับก็ลองสักตั้ง แต่มันมี ๒ กฏหมายที่เกี่ยวข้องอ่ะดิ พรบ.เด็กฯ นี่ปรับหนัก และติดคุกนาน....จบข่าว


icct-th.com

trazano

  • บุคคลทั่วไป
Re: มาว่ากันเรื่องรับเด็กก่อน 14.00 น. ช่วงปิดเทอม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 15, 2007, 05:04:12 pm »
ต่อภาค 2 กันเลยดีกว่าครับเรื่องให้บริการเด็กช่วงปิดเทอม

ตอนนี้เราต้องแยกระหว่าง 2 ข้อกฏหมายออกจากกันครับ เพราะมันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

1. พรบ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ตรงที่เขาเขียนให้เราปฏิบัตินั้นเรียกว่าข้อกำหนด โดยนายทะเบียนอาศัยอำนาจตามมาตรา 8 วรรค 3 ที่จะกำหนดเงื่อนไขใดๆ เพื่อให้ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติก็ได้  ซึ่งตรงนี้การตีความของแต่ละนายทะเบียนก็แตกต่างกันอีก หามาตรฐานไม่ได้เอาเสียเลย เพราะแทนที่จะไปกำหนดเนื้อหาของเทป (ซึ่งตอนนี้เราก็ไม่ยินดีที่ดันไปบอกว่า ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ไม่สามารถแยกออกได้อย่างอิสระ ว่าเป็นวัสดุ เหอๆ) ว่ามันรุนแรงต่อเด็กหรือไม่ มากกว่าจะมากำหนดเรื่องเปิดเทอม หรือปิดเทอม อะไรทำนองนี้ เพราะช่วงเปิดเทอม ทางผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็ให้ความร่วมมือที่ดีกับรัฐแล้ว โดยการไม่รับเด็กโดดเรียนก่อน 14.00 น. เมื่อปิดเทอมก็ควรให้โอกาสผู้ประกอบการทำมาหากินบ้าง เพราะธุรกิจนี้ก็เหมือนธุรกิจอื่นๆ ทั่วไป คือแสดงหากำไรเช่นกัน แต่หากรัฐต้องการให้เราดูแลสังคมมากกว่านี้ น่าจะมีมาตรการดีๆ ให้กับเราบ้าง เช่น ให้เราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ในราคาลด 60-70% หรือลดหย่อนค่าไฟฟ้า อะไรทำนองเนี้ย ไม่ใช่อะไรก็ไล่บี้เอากับเรา ประมาณว่าไม่ช่วยแล้วยังซ้ำอีกต่างหาก ดังนั้นผู้ประกอบการในหลายๆ จังหวัดลองนำเหตุผลหลายๆ ประการเหล่านี้ไปเจรจากับนายทะเบียนของท่านโดยสันติวิธี แต่หากไม่ได้ความอย่างใด แล้วต้องการให้ทีมงานสภาฯ ไปช่วยก็แจ้งเข้ามาได้ครับ

2. พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เป็นการตั้งข้อหาที่มาตรฐานมากๆ คือ มาตรา 26(3) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด   ในตรงนี้ก็ได้มีการกำหนดแล้วในกฏกระทรวงเรื่องเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด  เราจะโดนจัดเข้ากลุ่มใน (2) มั่วสุมที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น  ตรงนี้หลายๆ คนคงนั่งทำหน้าเอ่อๆ ว่า ร้านเรามั่วสุมตรงไหน (ว่ะ) เรามาดูความหมายของคำนี้กันดีๆ ครับ ผมมีมาให้ดู มั่วสุม หมายถึง ชุมนุมกันเพื่อกระทำการในทางไม่ดี เช่น มั่วสุมเล่นการพนัน เครือข่ายพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน ตรงนี้ชัดเจน แต่เจ้าหน้าที่จะเหมาเอาว่า เล่นเกมก็คือการมั่วสุม เจ้าของร้านส่งเสริม ยุยง ให้เด็กทำไม่ดี (เล่นเกม) การให้บริการโดยปกติของทุกร้านคือ เมื่อเด็กเข้ามาใช้บริการ จะได้นั่งเก้าอี้หน้าคอมพิวเตอร์เพื่อใช้บริการทุกคน เมื่อเครื่องเต็ม ก็อาจมีบ้างที่เดินไปเดินมาภายในร้าน แต่คงไม่ถึงขนาด แออัด หายใจไม่ออก เมื่อทุกคนได้นั่งประจำเครื่องแล้วก็ถือเป็นปกติวิสัยของการให้บริการ การกระทำเช่นนี้ไม่เข้าข่ายมั่วสุมแต่อย่างใด  มีคำถามตามมาว่า ส่วนใหญ่จะหมายถึงหน้าร้าน ตรงนี้มีประเด็นน่าสนใจว่า ฟุตบาท หรือ ถนน นั้นๆ เจ้าของร้านเป็นเจ้าของหรือเปล่า หากไม่ใช่ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ส่อไปในทางมั่วสุมใดๆ ที่ส่งเสียงดัง หรือจะมีการทะเลาะวิวาท เจ้าของร้านทำได้อย่างเดียวครับคือ แจ้งตำรวจท้องที่ ให้มาจัดการ แต่ถ้าเจ้าของร้านเก๋า ก็จัดการเองเลย อีกประเด็นที่ตำรวจมักจะอ้างเสมอคือ ร้านเนทเกมกระจกดำ มีโปสเตอร์เกมแยะไปหมด ทำให้การดูแลเด็กๆ ทำได้ไม่ทั่วถึง ประเด็นนี้เจ้าของร้านควรต้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไข เพื่อตัวท่านเอง
            ประเด็นปิดเทอมนี้ ในส่วนของ พรบ.คุ้มครองเด็ก ได้เปิดช่องไว้ในข้อ (9) ไม่เข้าเรียนในโรงเรียนหรือสถานศึกษาตามกฏหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ  นั่นหมายถึง เด็กไม่ไปโรงเรียน  แสดงว่าเด็กปิดเทอม หรือวันใดที่เป็นวันหยุดพักผ่อนของเด็กนั้น เด็กก็สามารถทำสิ่งใดๆ ตามสมควรแก่วัยได้  ทางมหาดไทยจึงได้มีระเบียบออกมาเรื่องห้ามเด็กเล่นเกมติดต่อกันเกิน 3 ชม/วัน ไงครับ
            สุดท้ายก่อนจบภาคนี้ การดิ้น ควรกระทำก่อนหน้านี้ เลิกเสียที การดิ้นแบบไฟลนก้นเช่นนี้ เพราะมันจะล่าช้าและไม่ทันการ สุดท้ายก็ต้องไปจบที่ศาล ทางสภาฯ ไม่สนับสนุนให้เกิดเช่นนี้กับผู้ประกอบการ แต่ต้องการเปิดโอกาสให้เท่ากันทุกพื้นที่ และเน้นประโยชน์ของผู้ประกอบการเป็นอันอับแรกเสมอ

trazano

  • บุคคลทั่วไป
Re: มาว่ากันเรื่องรับเด็กก่อน 14.00 น. ช่วงปิดเทอม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 16, 2007, 05:39:53 pm »
วันอังคารที่ 20 มีนาคม 2550 นี้ ทางสภาฯ จะนำเรื่องพร้อมรายชื่อผู้ประกอบการบางส่วนเสนอต่อหน่วยงานดังต่อไปนี้

1.  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  เรื่อง ขอให้พิจารณาเรื่องการยึดของกลางไว้ ณ สถานที่เกิดเหตุ
2.  กระทรวงมหาดไทย  เรื่อง ขอให้พิจารณา เพิ่มเติมรายละเอียด ในระเบียบว่าด้วยแนวทางของนายทะเบียน ตาม พรบ.เทปฯ พ.ศ.๒๕๓๐ ข้อ ๗ ข (๒) ให้เพิ่มคำว่า และวันปิดภาคเรียน  ต่อท้ายเข้าไปด้วย เพื่อเป็นการบรรเทาความลำบากในการประกอบอาชีพของผู้ประกอบการ

ขอให้ชมรมฯ ต่างๆ ที่มีความประสงค์ที่จะร่วมแนวคิดนี้ ขอให้ส่งรายชื่อมายังเมล์ [email protected] ก่อนวันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2550 เพื่อความสะดวกในการจัดทำเอกสาร

หมายเหตุ  ผลของการยื่นครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการโดยตรง และไม่แบ่งแยกกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด เพราะทีมงานสภาฯ คำนึงเรื่องการมุ่งมั่น พัฒนา เพื่อวิชาชีพ นี้ให้ก้าวหน้าและมั่นคง

trazano

  • บุคคลทั่วไป
Re: มาว่ากันเรื่องรับเด็กก่อน 14.00 น. ช่วงปิดเทอม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 16, 2007, 10:11:40 pm »
ขอขยายความอีกนิดครับ

1. เรื่องที่จะเสนอต่อ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นั้นมีผลต่อเนื่องจาก การออกล่าเหยื่อของพวกนักบิน ลิขสิทธิ์ ที่ไม่ถูกต้อง หรือถูกต้องก็ตาม ส่วนมากจะมาแบบกองโจร แล้วไปแบบกองโจร คือมาเพื่อยก (ขโมย) คอมพิวเตอร์ของเราเอาไปสถานีตำรวจเท่านั้น แล้วไปนั่งต่อรองราคาหน้า สน. เอาอีกที เมื่อตกลงกันเป็นที่น่าพอใจ (โจร) ก็จ่ายเงินแล้วยกเครื่องกลับร้าน กรณีเช่นนี้ทางสภาฯ เราไม่ยินดีให้เกิด จึงมีแนวคิดขอให้พิจารณาเรื่องดังกล่าว
2. เรื่องที่จะเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย นอกจากเรื่องเพิ่มคำว่า และวันปิดภาคเรียน ต่อท้ายแล้ว จะกล่าวถึง อายุ ของใบอนุญาต ว่าเห็นสมควรขายออกไปหรือไม่ เนื่องจาก ระยะเวลา 6 เดือน น้อยเกินไปสำหรับกิจการนี้  สาเหตุที่อายุใบฉาย มันสั้นก็เพราะว่า หนัง 1 เรื่อง อายุการเข้าฉายไม่นานมาก อย่างเก่งก็ไม่เกิน 2 เดือน จึงทำให้กฏหมายออกอายุใบฉาย ไว้เพียง 6 เดือนเท่านั้น แต่นี้ร้านเนทและเกม มันหมายถึงทั้งหมดของร้าน มิใช่ เฉพาะเรื่องแต่อย่างใด แตกต่างจากร้านอาหาร โรงแรม ที่ยังเปิดขายอย่างอื่นได้ หากหยุดฉาย คาราโอเกะ

trazano

  • บุคคลทั่วไป
Re: มาว่ากันเรื่องรับเด็กก่อน 14.00 น. ช่วงปิดเทอม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 17, 2007, 09:48:29 am »
๑. เข้าใจปัญหาของผู้ประกอบการ รวมกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ หากรวมตัวไม่ได้ให้แก้ไขเป็นรายบุคคลไป และต้องเข้าใจความต้องการของสังคมด้วย
๒. เปิดโต๊ะเจรจา และเชิญทุกฝ่ายเข้าร่วม ทั้งภาครัฐ อาทิ ตัวแทนจังหวัด, ตัวแทนวัฒนธรรม, ตัวแทนตำรวจ และผู้ประกอบการ
๓. สรุปผลการประชุมและนำเสนอต่อนายทะเบียนท้องที่โดยตรง
๔. หากยังมิได้ข้อสรุป ให้นำข้อเดือดร้อน และเอกสารการประชุม เสนอต่อกระทรวงที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อแก้ไขระเบียบและข้อกฏหมายต่อไป

ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญการเจรจาใดๆ กับเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องแสดงออกถึงความเป็นมิตร มากกว่าการยกเอาแต่ข้อกฏหมาย เพื่อให้ประโยชน์ตกอยู่แก่ผู้ประกอบการ จนลืมคิดถึงภาคสังคมโดยเฉพาะเรื่องเด็กและเยาวชน  สาเหตุที่ทางสภาฯ ออกมาย้ำเตือนประเด็นนี้บ่อยๆ ในช่วงนี้เพราะมีกลุ่มคนบางกลุ่ม ตระเวนออกให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเรื่องการให้บริการแก่เด็กต่ำกว่า ๑๘ ปี อย่างไม่เหมาะสม จนอาจทำให้ผู้ประกอบการในท้องที่นั้นๆ เดือดร้อนได้ในภายหลัง ดังตัวอย่างบางพื้นที่ โดนลดเวลาให้บริการมาแล้ว   ดังนั้นประเด็นในเวลานี้คือผู้ประกอบการจะให้ใครเป็นตัวแทนท่านไปพูดแทนท่าน แล้วทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และจะไม่ทำให้ท่านเดือดร้อน จะเป็นการดีที่สุด มีหลายๆ พื้นที่ มากคน มากความ บางพื้นที่สงบดี ก็เอาไม้ไปกวนให้น้ำมันขุ่นเล่นซ่ะชั้น (บางคนชอบที่จะเดินชนข้างฝา ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม รู้ๆ ว่ามันเดินไปไม่ได้ก็จะเดิน...งง)

trazano

  • บุคคลทั่วไป
Re: มาว่ากันเรื่องรับเด็กก่อน 14.00 น. ช่วงปิดเทอม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 19, 2007, 07:21:03 am »
รายงานความคืบหน้าของการทำงานครับ ขณะนี้เวลา 01.15 น. เอกสารทุกอย่างได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว รอกระบวนการยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น วันนี้จะดำเนินการยื่นต่อไป และจะมารายงานความคืบหน้าต่อไปครับ  ทีมงานสภาฯ ขอขอบคุณทุกเสียงของผู้ประกอบการที่ไว้วางใจ ร่วมดำเนินการในครั้งนี้ รายชื่อทั้งหมดที่รวบรวมได้ในระยะเวลา 3-4 วันที่ผ่านมาคือ 671 ร้านเนทครับ  :D