บทความอัพเดทในเว็บ ขออนุญาตอัพเดทช่องทาง https://fb.com/siamcafefan

ผู้เขียน หัวข้อ: เล่นเกมให้เป็นเกม รู้เท่าทันพ้นภัยยุคไซเบอร์  (อ่าน 3474 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

trazano

  • บุคคลทั่วไป
เล่นเกมให้เป็นเกม รู้เท่าทันพ้นภัยยุคไซเบอร์
         
สื่อดิจิทัลที่มาพร้อมทั้งความเพลิดเพลินผ่อนคลายในรูปแบบของเกมที่มีปรากฏหลากหลายรูปแบบเวลานี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีบทบาทอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชน
 
ขณะที่เกมส่งผลต่อพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงได้ทั้งทางที่ดีและตรงข้าม ซึ่งในส่วนดีนั้นสามารถเป็นสื่อพัฒนาสมอง ฝึกทักษะความรู้ในด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้เล่นได้ แต่ในขณะเดียวกันเกมก็อาจกลายเป็นสื่ออันตรายเป็นพิษภัยที่อาจคาดไม่ถึง
 
หากผู้เล่นขาดวุฒิภาวะ ขาดความรู้ความเข้าใจแยกแยะโลกของเกมและโลกของความจริงไม่ได้และหลายต่อหลายครั้งที่การเลียนแบบพฤติกรรมจากเกมได้กลายเป็นข่าวสะเทือนใจ ก่อเกิดปัญหาอาชญากรรมซึ่งมักมีให้ติดตามอยู่บ่อยครั้ง
 
จากภัยเงียบของปัญหาเกมซึ่งมีความสำคัญ ล่าสุด กระทรวงวัฒนธรรมได้เปิดประชุม ประกาศเจตนารมณ์ 90 วันลูกหลานไทยพ้นภัยเกม หาแนวทางพร้อมกับองค์กรภาคีหลายภาคส่วนทั้งในเขตกรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาค เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ผลิตเกม ร้านเกม ฯลฯ ร่วมกันแก้ปัญหาร้านเกม เกมอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมเด็กและเยาวชน
 
ขณะที่การมีความรู้ความเข้าใจในเกมมีความหมายความจำเป็น การบรรยายรู้จักเกม รู้จักร้านเกมส่วนหนึ่งในการประชุมฯ พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ พิธีกรรายการผู้คลุกคลีในแวดวงเกมให้มุมมองสะท้อนสถานการณ์พัฒนาการเกมในปัจจุบันว่า ผู้ใหญ่อาจมองว่าเกมเป็นเรื่องที่เข้าใจยากจึงเป็นส่วนที่ทำให้เกิดระยะห่างช่องว่างระหว่างกัน ผู้ปกครองผู้ที่ใกล้ชิดเด็กจึงควรได้รู้ว่าเกมมีพัฒนา การไปอย่างไร
 
เกมในปัจจุบันมีอยู่มาก มายแบ่งประเภทได้ทั้งตามอุปกรณ์การเล่น อย่างเครื่องเล่นเกมพกพา แบ่งประเภทจากการเชื่อมต่อ อย่างเช่นเกมออนไลน์โดยเกมต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ส่วนเกมออฟไลน์ เกมกล่องที่มีภาพสวยงามมีความสมจริง แต่ละเกมต่างก็มีข้อดี ข้อด้อย มีส่วนช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และปัญหาพฤติกรรมเยาวชนก็ไม่ใช่เกิดจากเกมอย่างเดียว ซึ่งปัญหาที่มาจากเกมทุกภาคส่วนคงต้องช่วยกันเฝ้าระวังให้เด็กได้รู้จักเกมและวิธีการเล่นที่เหมาะสม
 
ส่วนในมุมมองของเยาวชน เสียงหนึ่งได้บอกเล่าถึงด้านดีของเกมที่อาจไม่ได้ถูก กล่าวถึงกัน เกมให้อะไรหลายอย่างซึ่งถ้ามองจริง ๆ เกมเป็นเหมือนโลกจำลองทำให้เราได้มีส่วนร่วมในสิ่งนั้น ๆ แต่ทั้งนี้ก็ต้องรู้จักและเข้าใจแยกแยะในโลกจำลองนี้
 
เกมในปัจจุบันแตกต่างจากอดีตไปมาก หลายปีที่ผ่านมามีนักกีฬาเกม (ไซเบอร์สปอร์ต) ซึ่งนักแข่งจะต้องฝึกซ้อมเสมือนเป็นนักกีฬาและปัจจุบันสิ่งนี้ได้กลายเป็นอาชีพ นอกจากนี้คนที่เล่นเกมอีกไม่น้อยพัฒนาตนเองเป็นคนสร้างเกมเป็นนักพัฒนาเกม หรือบางครั้งก็นำเกมที่เล่นมาใช้ฝึกทักษะตนเอง อย่างเกมประเภทกีฬา เกมการขับรถ ฯลฯ อีกทั้งเกมยังช่วยในด้านการศึกษาช่วยในการเรียนภาษาและอย่างที่กล่าวมาเกมมีทั้งสองด้าน การจะเล่นเกมก็คงจะต้องรู้จักแยกแยะ เล่นให้รู้ว่านี่คือเกมเล่นแล้วจบไปและการเล่นก็เพื่อความเพลิดเพลินผ่อนคลายเท่านั้น
 
ท่ามกลางการร่วมกันแก้ไขจากหลากหลายภาคส่วนหลายมุมมองในการรู้เท่าทันเกมจากการประชุมฯ ในปัญหาเกมที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมเด็กและเยาวชน รศ.ยืน ภู่วรวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ ให้ความรู้พร้อมเล่าถึงพัฒนาการของเกมที่ไม่หยุดนิ่งว่า เกมพัฒนาไปตามเทคโนโลยี เกมมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่ก่อนยุค 80 ไม่ใช่เพิ่งจะเกิดขึ้น
 
“เมื่อก่อนการสร้างเกมอาจไม่สมจริงอย่างยุคแรกเกมจะเป็นเพียงแค่ ทูดี ไม่สมจริง แต่ในระยะ 4-5 ปีหลังเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มีพัฒนา การที่ดีขึ้นมาก เกมเริ่มพัฒนามาในมุมของ ทรีดี เริ่มมองเห็นในมุมลึกสามารถเล่นออนไลน์เล่นได้ด้วยกันหลายคนและสร้างสิ่งที่เรียกกันว่าสังคมไซเบอร์ได้เหมือนจริงมากขึ้น”
 
อีกทั้งยังสร้างรูปแบบ ใหม่ให้แทนตัวตนอยู่ในเกมมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิด โดยสิ่งที่กำหนดแทนตัวตนผู้เล่นให้เป็นตัวตนอะไรก็ได้ อย่างสมมุติว่า ถ้าต้องอยู่ในโลกของเกมก็จะไปเป็นตัวตนใหม่ในลักษณะนี้ก็อาจทำให้เสมือนว่าเราสามารถสร้างโลกใหม่ได้
 
“ฉากในเกมมีความ สมจริงสมจังมาก สำหรับเด็กอาจแยกแยะไม่ออกว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งสมมุติหรือเป็นจริง จึงทำให้เกิดปัญหาได้ แต่หากใครก็ตามที่แยกแยะออก มีวุฒิภาวะพอรู้ถึงสิ่งที่กำลังเล่นว่านี่คือเกม เข้าใจในสิ่งที่สร้างสมมุติขึ้นมาได้ว่ามีความแตกต่างจากชีวิตจริงเป็นคนละชีวิตกันก็จะไม่มีปัญหา ใด ๆ”
 
แต่จากการศึกษาปัญหาที่เกิดจากการเล่นเกมส่งผลต่อการศึกษาเล่าเรียนจะมีในกลุ่มเด็กตั้งแต่วัย 10 ขวบขึ้นไปและจะไปสูงสุดอยู่ประมาณช่วงมัธยมต้นประมาณ 13-15 ปีซึ่งจะพบปัญหารุนแรงสุด หลังจากนั้นปัญหาจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเด็กมีวุฒิภาวะดีขึ้น จนกระทั่ง ประมาณอายุ 24-25 ปี ก็จะค่อย ๆ เป็นปกติ
 
“หลายปีที่คุ้นเคยกับค่ายเยาวชนมายาวนาน อีกทั้งมีโอกาสวิจัยศึกษาเรื่องดังกล่าวทำให้ทราบปัญหาซึ่งอยู่ที่ความไม่เข้าใจกันระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ การแก้ปัญหาจึงต้องมีเวทีที่เป็นทางเลือกมาทดแทนการเล่นเกมให้กับเด็กและเยาวชน ต้องมีคำแนะนำที่ถูกต้อง ผู้ปกครองควรใกล้ชิดต้องเรียนรู้เข้าใจโลกของเด็ก โลกของเกม เรียนรู้ไปด้วยกัน ซึ่งจะช่วยลดช่องว่าง บ่อยครั้งที่พบว่าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจว่าเด็กพูดคุยกันถึงสิ่งใดจึงเกิดการมองต่างมุมกัน ทีนี้การแก้ปัญหาในมุมของผู้ใหญ่จึงอาจไปไม่ถึงความสำเร็จเนื่องจากเป็นคนละมุมมอง ซึ่งในมุมมองเหล่านี้มีทั้งข้อดีและแตกต่างจึงควรหันหน้าหากัน”
 
กลับมาที่เกมซึ่งปัจจุบันมีพัฒนาการไปมาก เกมบางเกมเหมือนจริง อย่างเกมที่เป็นกีฬาไม่ว่าจะเป็นเทนนิส โบว์ลิ่ง เกมเหล่านี้ให้ความรู้สึกเหมือนจริง ส่วนเกมในต่างประเทศอย่างอเมริกามีการจัดเรตติ้ง อย่างเกมที่มีความรุนแรง เกมเรดเอ็มจะเป็นเกมของกลุ่มผู้เล่นที่มีอายุเกิน 18 ปี ซึ่งถือว่ามีวุฒิภาวะพอ
 
ขณะที่การแก้ปัญหามีหลากหลายซึ่งในด้านดีของเกมนั้นมีให้เห็น ยิ่งเวลานี้ที่อยู่ในโลกเทคโนโลยีเป็นที่ทราบกันดีว่ายากที่จะหลีกเลี่ยง เกมก็เช่นเดียวกันเป็นสิ่งใกล้ตัว เกมในปัจจุบันมีอยู่มากมายเป็นหมื่นเป็นแสนเกม การหาวิธีดูแลการแบ่งแยกเกมต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่คงไม่ได้ทำในมิติเดียว
 
“ทุกเกมมีข้อดีข้อด้อยซึ่งคงต้องดูในรายละเอียด อย่างเกมที่มีความรุนแรงรายละเอียดเนื้อหามีการสู้รบกัน การสมมุติที่อาจทำให้แยกแยะไม่ออก มีเลือดสาด การสูญเสียอวัยวะ นอกจากนี้ในกลุ่มเกมที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับสิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ ภาพหวือหวา ความรุนแรงทางด้านภาษา ฯลฯเหล่านี้ผู้ปกครองก็ต้องใกล้ชิดดูแลซึ่งหากปล่อยให้เล่นไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะส่งผลต่อพฤติกรรม”
 
การมีความรู้ความเข้าใจในเกมร่วมกันทั้งพ่อแม่ลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะขณะที่เด็กยังไม่มีความพร้อมผู้ปกครอง สามารถเลือกเกมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของลูกได้ไม่ว่าจะเป็นเกมที่มีความสนุก เกมฝึกทักษะ เกมที่มีประโยชน์ ขณะที่เล่นเรียนรู้ร่วมกันสามารถที่จะดึงเนื้อหานำสิ่งดี ๆ ที่มีในเกม บอกสิ่งที่เป็นโลกแห่งความจริงกับโลกสมมุติในเกมให้เด็กได้รู้จักเข้าใจเป็นการปลูกฝังสิ่งที่ดีให้กับเด็กอีกทั้งยังเป็นการใช้เทคโนโลยีถูกทาง อ.ยืนกล่าวทิ้งท้าย
 
เมื่อไม่อาจปฏิเสธเทคโนโลยีก็จะต้องหาวิธีการอยู่ร่วมกันให้ได้อย่างมีความสุข เช่นเดียวกับเกมที่พัฒนาก้าวไปจึงควรที่จะมีความรู้ความเข้าใจในเกม เล่นอย่างสร้างสรรค์ซึ่งไม่เพียงเพื่อความผ่อนคลายเพลิดเพลินแต่ยังช่วยให้พ้นภัยไกลจากเกมอันตราย.


เดลินิวส์

ออฟไลน์ scrolllock

  • นักเรียนมัธยม
  • *****
  • กระทู้: 225
  • Reputation: 0
Re: เล่นเกมให้เป็นเกม รู้เท่าทันพ้นภัยยุคไซเบอร์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 11:26:23 am »
เกมส์มันก็คือเกมส์จะให้มันเป็นอย่างอื่นคงจะไม่ได้



Signature cleanned by Admin

ออฟไลน์ samuraiXX

  • ศิษย์ก้นกุฏิ ...ปี.2
  • ******
  • กระทู้: 106
  • Reputation: -1
  • เพศ: ชาย
  • ขอดูและอ่านไปเรื่อย ๆ งี้แหละ
Re: เล่นเกมให้เป็นเกม รู้เท่าทันพ้นภัยยุคไซเบอร์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 11:40:14 am »
อ้างถึง
หากผู้เล่นขาดวุฒิภาวะ ขาดความรู้ความเข้าใจแยกแยะโลกของเกมและโลกของความจริงไม่ได้และหลายต่อหลายครั้งที่การเลียนแบบพฤติกรรมจากเกมได้กลายเป็นข่าวสะเทือนใจ ก่อเกิดปัญหาอาชญากรรมซึ่งมักมีให้ติดตามอยู่บ่อยครั้ง
ถ้าเข้าใจมันก็ไม่เป็นอย่างทุกวันนี้หรอก  :nvm:
Signature cleanned by Admin

trazano

  • บุคคลทั่วไป
Re: เล่นเกมให้เป็นเกม รู้เท่าทันพ้นภัยยุคไซเบอร์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 01:07:11 pm »
รวบโจ๋ฆ่าลูกจ้างในร้าน เลียนแบบละคร"คมแฝก"
                   
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 07.00 น เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา

ได้รับแจ้งว่าพบศพถูกฆ่าหมกศพอยู่ใต้ศาลาพักผู้โดยสาร ริมถนนสายเอเชีย หน้าวัดทอง หมู่ที่ 2 ต.ขวัญเมือง อ.บางประหัน ตรวจสอบที่เกิดเหตุไปตรวจสอบ พบศพนายอ่อน หรือจูด จันทร์สุคน ลูกจ้างร้านรับซื้อของเก่าในตลาดบางปะหัน  สภาพถูกตีด้วยของแข็งจนแตกยับ ซี่โครงหักหลายซี่ ไม่สวมเสื้อ สวมกางกางขาสั้นสีดำถูกถลกลงไปอยู่ที่ขา เสียชีวิตมาแล้วประมาณ 5 ชั่วโมง

สอบสวนผู้เห็นเหตุการณ์ให้การว่า ในช่วงกลางดึกมีวัยรุ่นเดินวนเวียนอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ

ต่อมาเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน ได้เข้าตรวจค้นที่ห้องพักในร้านรับซื้อของเก่าดังกล่าว พบเสื้อผ้าเปื้อนเลือดในห้องนายสมชาย โพธิ์อ่อน จึงคุมตัวมาสอบสวน นายสมชายให้การรับสารภาพว่า เป็นผู้ลงมือฆ่านายอ่อน เพราะแค้นที่ให้ผู้ตายเฝ้าร้านขายของเก่า แต่กลับแอบขโมยเหล็กไปขายเป็นประจำ
 
จนกระทั่งเมื่อคืนนี้(26 ส.ค.) หลังจากดูละครโทรทัศน์เรื่อง"คมแฝก" จนจบ และได้ออกตามหาผู้ตาย

จนกระทั่งมาพบผู้ตายนั่งกินเบียร์อยู่ที่ศาลาที่เกิดเหตุ จึงได้เข้าไปเอาขวดเบียร์กระหน่ำตีจนผู้ตายล้มลง จากนั้นได้งัดเอาพื้นศาลา มากระหน่ำตีตามใบหน้าและลำตัว เหมือนกับในละครเรื่องคมแฝก จากนั้นได้ผลักศพตกลงไปที่ใต้ถุนศาลา

 
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน

*****************************************************************
ทีกรณีเด็กเลียนแบบเกม GTA (หรือเปล่าก็ไม่รู้) ประโคมข่าว หาทางจัดการเกม จัดการร้านเกมกันเป็น เดือน เป็นปี ออกมาตรการต่างๆ มากมาย ทั้งแบน ทั้งจับ (จับจริง จับมั่ว)  แต่มาคราวนี้ ไม่เห็นจัดการอะไร หรือเพราะมีนายทุนหนุนหลังพวกนี้ เลยแตะไม่ได้ ช่วยกันคิดหน่อยครับพี่น้อง ว่า เป็นเช่นไร  :nvm:

ออฟไลน์ arakon

  • ผ่านการทดสอบเลื่อนชั้น
  • **
  • กระทู้: 21
  • Reputation: 1
Re: เล่นเกมให้เป็นเกม รู้เท่าทันพ้นภัยยุคไซเบอร์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 01:12:29 pm »
 :pray:
Signature cleanned by Admin

ออฟไลน์ arakon

  • ผ่านการทดสอบเลื่อนชั้น
  • **
  • กระทู้: 21
  • Reputation: 1
Re: เล่นเกมให้เป็นเกม รู้เท่าทันพ้นภัยยุคไซเบอร์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 01:14:59 pm »
พวกมันต้องการให้ร้านเกมส์เจ้งเป็นรายๆ ไปสิ เอะอะอะไรก้อโยนความผิดให้ร้านเกมส์หมดเลย
Signature cleanned by Admin

ออฟไลน์ kelmos

  • นักเรียนมัธยม
  • *****
  • กระทู้: 177
  • Reputation: 0
Re: เล่นเกมให้เป็นเกม รู้เท่าทันพ้นภัยยุคไซเบอร์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 01:19:56 pm »
อย่าว่าแต่เด็กๆ เลย  ผู้ใหญ่โตๆ กันแล้ว  เล่นไม่สบอารมณ์  ก็ด่าเค้าไปทั่ว  ใครกล้าว่าตอบโต้  ก็พากันไปต่อยตีกันข้างนอกร้าน  โอ้โห!!!  สุดยอดเจงๆ ประเทศไทย  :gum:
Signature cleanned by Admin

apsch2

  • บุคคลทั่วไป
Re: เล่นเกมให้เป็นเกม รู้เท่าทันพ้นภัยยุคไซเบอร์
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 01:37:20 pm »
 :omg: :omg:

Chipset

  • บุคคลทั่วไป
Re: เล่นเกมให้เป็นเกม รู้เท่าทันพ้นภัยยุคไซเบอร์
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2008, 04:14:51 am »
อะไรๆก็เกมเป็นต้นเหตุ แต่ไม่เคยคิดเลยว่าละครน้ำเน่าอะ มันสร้างปัญหามากกว่าซะอีก :nvm:

joncass0110

  • บุคคลทั่วไป
Re: เล่นเกมให้เป็นเกม รู้เท่าทันพ้นภัยยุคไซเบอร์
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2008, 09:31:32 am »
 :shy:    ระเบียบการมีไว้ไห้ปาติบัด

trazano

  • บุคคลทั่วไป
Re: เล่นเกมให้เป็นเกม รู้เท่าทันพ้นภัยยุคไซเบอร์
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2008, 11:48:38 am »
ช่วงนี้มีข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับกิจการร้านเนทเกม ออกมามากมายครับ บางเรื่องก็เก่า บางเรื่องก็ใหม่ บางเรื่องข่าวตายไปแล้วก็ขุดขึ้นมาหากินใหม่  ยังไงก็ฝากผู้อ่าน ไตร่ตรองกันหน่อยละกันครับ สำหรับข่าวสารช่วงนี้  :shout:

accurate

  • บุคคลทั่วไป
Re: เล่นเกมให้เป็นเกม รู้เท่าทันพ้นภัยยุคไซเบอร์
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2008, 10:04:38 am »
หนัง ละคร มีผลความก้าวร้าวมากกว่าเกมอีก   มีให้เห็นเยอะแยะ อย่างเรื่องส้มตำ  เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆทำตัวใหญ่โต ไม่มีสัมมาคารวะผู้ใหญ่ซักนิด อย่างเรื่องคมแฝก เด็กที่หมู่บ้านก็เดินถือไม้กันคนละอัน  มันบ้ารึป่าว ทำหนังทำละครแบบนี้มาฉาย  และยังมีเพลง ต่างๆที่ก่อให้เกิดความรุนแรง และหวยที่เป็นการพนันที่ถูกต้องอีก ทำให้คนเป็นหนี้เป็นสินฆ่ากันตายกันเท่าไหร่แล้ว  แก้ไขกันได้รึป่าว  มันทำไม่ได้หรอกเพราะที่นี่ประเทศไทย