บทความอัพเดทในเว็บ ขออนุญาตอัพเดทช่องทาง https://fb.com/siamcafefan

ผู้เขียน หัวข้อ: มารูจัก Network ให้มากขึ้นกว่าเดิมพื้นฐานธรรมดาจนขั้นสูงและการแก้ปัญหา  (อ่าน 32682 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ZealKung

  • บุคคลทั่วไป


ปัญหาของเครือข่ายในระดับชั้น Network เป็นปัญหาการทำงานของโปรโตคอลในระดับระบบปฏิบัติการ ที่ใช้โปรโตคอล อย่าง เช่น IP หรือ IPX เป็นต้น
      ก่อนอื่นต้องกราบขออภัยที่ตอนต่อไปของบทความนี้ หายหน้า หายตาไปนาน ซึ่งครั้งล่าสุด บทความนี้ ไปสิ้นสุดที่การแก้ปัญหา เครือข่ายในระดับชั้น Data Link ดังนั้นในฉบับนี้ จะได้กล่าวถึงปัญหาในระดับชั้น Network ต่อไป ๛sc


StepOne
ลักษณะของปัญหาในระดับชั้นเครือข่าย (Network)  :D

      ปัญหาของเครือข่ายในระดับชั้น Network เป็นปัญหาการทำงานของโปรโตคอลในระดับระบบปฏิบัติการ ที่ใช้โปรโตคอล อย่าง เช่น IP หรือ IPX เป็นต้น แต่ในฉบับนี้ จะขอเน้นแต่ ปัญหาของ IP

   *ปัญหาต่างๆที่เกี่ยงข้องกับระดับชั้นเครือข่าย มีดังนี้

 -ไม่สามารถ ใช้คำสั่ง Ping แต่มีข้อความแสดงความผิดพลาดพร้อม Error Code

 -ไม่สามารถ Ping เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันได้

 -ไม่สามารถ Ping เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างเครือข่าย หรือ Subnet ได้

 -ไม่สามารถ Ping ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันได้

 -ไม่สามารถ Ping ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างเครือข่ายกันได้

 -เกิดปัญหา ความผิดพลาด ที่แสดงว่า เกิดการขัดแย้งขึ้นบนเครือข่าย

 -เกิด ข่าวสารเกี่ยวกับความผิดพลาดขณะจะ Logon เข้าไปที่ Server

 -สามารถ Ping เห็นเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง แต่ได้รับคำตอบว่า Destination Unreachable

 -ตรวจพบว่า มี Retransmission เกิดขึ้นมากมายบนเครือข่าย (รูปที่ 1)



รูปที่ 1 แสดงการเกิด Retransmission บน TCP/IP

 -ผู้ใช้งานสามารถ Access เข้าไปที่ Host หรือ Server บางตัวเท่านั้น ส่วน Host หรือ Server อื่น ไม่สามารถ Access เข้าไปได้ หรือฟ้อง Error ออกมา

 -มีเพียง โปรโตคอลบางตัวเท่านั้นที่สามารถวิ่งออกผ่าน Router ได้

 -เครื่องไม่สามารถ Access Host อื่นๆ ที่อยู่คนละเครือข่าย ผ่านทาง Router

 -สามารถ Access ไปที่ Host หรือ Server เฉพาะบาง Services เท่านั้น

 -ไม่สามารถ Ping Loop back Address (127.0.0.1) บนเครื่องที่มีปัญหา

 -ไม่สามารถ Ping หรือติดต่อกับ Default Router

 -การเชื่อมต่อเกิดหลุดเป็นครั้งคราวเอาแน่ไม่ได้

 -คอมพิวเตอร์ลูกข่ายที่ไม่มี Disk ไม่สามารถทำงานได้

 -ประสิทธิภาพการทำงานของ TCP/IP ต่ำมาก

 -TCP Windows Size เล็กเกินไป

 -TCP Windows Size ถูก Drop ในปริมาณที่น้อยกว่าค่าสูงสุด

 -ค่า Windows Size คงที่ แต่ Packet ประเภท Acknowledge มีการตอบรับช้ามาก

 -ขนาดของ TCP Windows โตเกินไป

 -มีปัญหาขณะการใช้ RIP



รูปที่ 2 แสดงการจัดตั้งค่า IP และ Subnet mask ไม่ถูกต้อง สาเหตุโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นบนระดับชั้น Network

 -Application ไม่ได้เปิดใช้ หรือไม่สามารถใช้งานได้

 -เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ไม่อยู่ในสถานะพร้อมที่จะทำงาน

 -DNS Server ไม่สามารถทำ Reverse Lookup และหรือไม่สามารถตอบรับการร้องขอการทำ Reverse Lookup ของเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ

 -ตาราง DNS ไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีค่าเบอร์ IP หรือข้อมูลเกี่ยวกับการ Mapping ชื่อ Domain ให้กับ Host

 -IP Address ชนกัน : มีเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้ IP ซ้ำกัน

 -ชื่อของ Host และ IP Address เกิดมีปัญหา

 -Port ของ Router ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ



รูปที่ 3 แสดงการทำงานปกติ Serial Port บน Router

 -เบอร์ IP ที่ Ping ไปที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ไม่ถูกต้อง

 -เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางถูกจัด Configure เกี่ยวกับ เบอร์ IP หรือ Subnet Mask ไม่เรียบร้อย

 -มีการจัด Filter บน Router ด้วย Access List ไม่ถูกต้อง

 -Routing Table ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก ข่าวสารเกี่ยวกับ Routing Table ได้รับมาจาก Interface หรือ โปรโตคอลนั้นไม่ถูกต้อง

 -การจัดตั้งค่า Configure ของ Terminal ไม่ถูกต้อง

 -User ID หรือ Password ไม่ถูกต้อง

 -เกิดการจัด Configure ค่า Default Gateway ของ Host หรือ Router ไม่ถูกต้อง

 -การจัด Configure ของ LAN Card หรือ Interface ไม่ถูกต้อง

 -การจัด Configure Router ให้ Block BOOTP Frame

 -การจัด Configure Virtual Link ไม่ถูกต้อง

 -IP Address ของ Default Route ใน Table ของ Router เกิดความผิดพลาด

 -IP Address ของ DNS Server ไม่ถูกต้อง หรือการปัญหาจากการ Configure ที่มีต่อเครื่องที่มีปัญหา

 -IP Address หรือ Subnet mask ของเครื่องที่มีปัญหา ไม่ได้รับการจัด Configure อย่างถูกต้อง

 -ไม่มีการกำหนดค่า Default Gateway อย่างถูกต้องบน Router

 -ที่ Port ของ Router ไม่ได้กำหนด IP Address อย่างถูกต้อง

 -Host ปลายทาง หรือเครือข่ายทำงานหนักจนเกินไป

 -การจัด Configure DNS แก่ Client ไม่ถูกต้อง ทำให้ Client จะต้องรอให้ การร้องขอใช้บริการของ DNS Server Timeout เสียก่อนที่จะพยายามติดต่อกับ DNS Server ตัวที่สอง

 -เครื่องที่มีปัญหา ไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่าย

 -Route Distribution ของ IGRP หรือ RIP ไม่ได้รับการจัด Configure อย่างถูกต้อง

 -Router ได้ทำการ Block UDP Broadcast Forwarding ทำให้ ไม่สามารถส่ง BOOTP Broadcast ออกมาได้ ตามปกติ

 -Port ของ Router ที่เชื่อมต่อไปยังปลายทางไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

 -ค่า Sub Netmask ของ Host และ Router ไม่เข้ากัน

 -การเชื่อมต่อ TCP ระหว่าง Host เกิด Time out

 -TCP/IP Software หรือ Driver ของ LAN Card ไม่ได้รับการจัด Configure อย่างถูกต้อง

 -Hello และ Dead Timer ของ Router ต่างๆ ทำงานไม่ประสานงานกัน

 -Router Access List ไม่ถูกต้องหรือ การจัด Configure ไม่สอดคล้องต่อการใช้งาน

 -Router Access List ถูกกำหนดให้ Block บาง Application หรือ Port

ZealKung

  • บุคคลทั่วไป
StepTwo
เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบปัญหาในระดับชั้นเครือข่ายและ Transport

      เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบปัญหาของระดับชั้นเครือข่าย และ Transport มีมากมายหลายประการ ทั้งที่เป็นแบบ Software Utility ที่มากับ ระบบปฏิบัติการ และ Software ต่างๆ  :P

ZealKung

  • บุคคลทั่วไป
StepThree
การใช้คำสั่ง Ping

   *Ping เป็นเครื่องมือที่ถูกใช้เพื่อการตรวจสอบ การเชื่อมต่อระหว่าง  :-\

 -คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ด้วยกัน

 -คอมพิวเตอร์กับ LAN Card

 -คอมพิวเตอร์บนเครือข่าย กับโปรโตคอล TCP/IP

 -คอมพิวเตอร์บนเครือข่ายกับ Router และอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย รวมทั้ง Gateway

 -การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ Router กับ Router ด้วยกัน



รูปที่ 4 แสดงการใช้คำสั่ง Ping เพื่อตรวจสอบสถานการณ์เชื่อมต่อ รวมทั้งค่าการตอบสนองจากเครื่องปลายทาง

   คำสั่ง Ping ไม่เพียงแต่สามารถแสดง สถานการณ์เชื่อมต่อระหว่างเครื่องลูกข่าย หรือ Router แล้ว แต่ยัง สามารถถูกนำมาใช้เพื่อการ ดู เวลาของการตอบสนอง ของเครื่องลูกข่าย เพื่อให้รู้ว่า สถานะของเครือข่าย หรือสถานะของเครื่องลูกข่ายนั้น เป็นอย่างไร ? นอกจากนี้ การใช้ Ping เป็นการสร้างกระแสของ Traffic บนเครือข่ายระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์2 เครื่อง บนเครือข่ายได้ ;)

   จากรูปที่ 4 แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าการเชื่อมต่อ ระหว่าง เครื่องลูกข่าย ปลายทาง จะเป็นไปตามปกติ ท่านยังสามารถตรวจสอบพบว่า ค่า Round Trip Time นั้น อาจดูสูงเกินไป ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่า เครื่องลูกข่ายปลายทางอยู่ไกลมาก หรือไม่ก็กำลังยุ่งอยู่กับการให้บริการ หรือไม่ก็เครือข่ายของเครื่องปลายทาง กำลังยุ่งหรือการจราจรติดขัด ส่งผลให้ การตอบรับของคำสั่ง Ping นั้นล่าช้า



รูปที่ 5 ค่า Round Trip Time ของ Ping ที่เกิดจากการ Ping ผ่าน Router ไปยัง Host ที่อยู่ห่างกันคนละเครือข่าย

ZealKung

  • บุคคลทั่วไป
StepFour
การใช้งานคำสั่ง Ping บน Windows

      คำสั่ง Ping มีการทำงานในลักษณะคล้ายกับเครื่องโซน่า ในเรือดำน้ำ ที่มีการส่งสัญญาณที่เรียก Ping ออกไป จากนั้น ก็ทำการตรวจสอบการสะท้อนกลับของคลื่นสัญญาณ อีกทั้งยังสามารถวัดระยะทางความห่าง ระหว่างเรือดำน้ำกับเป้าหมายปลายทางได้

   *ส่วนประกอบการทำงานของ Ping :D

1. Ping ใช้โปรโตคอล ICMP (Internet Control Message Protocol) ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดของโปรโตคอลของ TCP/IP เพื่อนำพาข้อมูลข่าวสารไปส่ง รวมทั้งรับข่าวสารกลับมาจากปลายทาง เพื่อส่งมอบให้กับท่าน



รูปที่ 6 แสดงการใช้ Active sniffer เพื่อดูการทำงานของ ICMP

2. สิ่งที่ปรากฏในลักษณะการรายงานบนหน้าจอของ Ping ได้แก่ สถานการณ์เชื่อมต่อ และ ค่า Round Trip Time โดยค่านี้จะเริ่มนับตั้งแต่เครื่องต้นทางส่ง Ping ออกไป และได้รับการสะท้อนกลับมาค่า นี้มีหน่วยเป็น ms ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถรู้ได้ว่าประสิทธิภาพของเครือข่ายในขณะนั้น เป็นอย่างไร?

3. ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาบนหน้าจอ จะแตกต่างกันออกไป ในแต่ละเครื่อง ตัวเลขของค่า Round Trip Time สามารถบอกท่านได้ดังนี้

   -ระยะทางความห่างคิดเป็นจำนวน Hop โดยดูจาก ค่าของ TTL ที่เปลี่ยนแปลงไป

   -เวลาที่ใช้ไปกับการเดินทางระหว่างท่านกับคอมพิวเตอร์ปลายทาง หากค่าของเวลายิ่งมาก ยิ่งบ่งบอกถึงประสิทธิภาพที่ด้อยลงของเครือข่าย หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความพร้อมสักเพียงใด ด้วยเหตุนี้ท่านควร Ping เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง เพื่อดูค่าแตกต่าง

ตารางที่ 1 การใช้คำสั่ง Ping  ;)


 
หาก Ping ไม่ให้ข่าวสารที่แสดงว่ามีการตอบสนอง  ???

ลักษณะของข่าวสารที่แสดงว่า เกิดปัญหา มีมากมายหลายประการ เช่น Error Message ดังต่อไปนี้

   -Request Time Out - แสดงว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ไม่มีตัวตน หรือยังไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่าย หรือ ปัญหาเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ หรือ อยู่ห่างมากเกินไป มีค่า Delay มากเสียจน เกิด Time Out

   -Destination Unreachable - เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง อยู่ไกลเกินไป มี Delay มากไป หรือเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ติดตั้งอยู่ มีปัญหาติดขัด

   -มีข้อความ Reply From บ้าง Request Time Out บ้าง ในการ Ping เพียงครั้งเดียว แสดงถึงปัญหาของประสิทธิภาพเครือข่าย รวมทั้ง มีปัญหา ของโปรโตคอลเกิดขึ้น นอกจากนี้ การเกิด Delay และความไม่แน่นอน ในด้านความพร้อมของเครื่องปลายทาง ก็เป็นสาเหตุหลัก เช่นเดียวกัน เพื่อให้มั่นใจว่า อาจเป็นปัญหาของเครือข่าย หรือความไม่พร้อมของเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ให้ใช้คำสั่ง Ping - t เพื่อ Ping อย่างต่อเนื่อง แล้วตรวจสอบดูว่า มีครั้งใดบ้างที่มี ทั้ง Request Time Out รวมทั้ง Reply From ..... หรือ Destination Unreachable บ้าง หากมี ให้ลอง เช่นนี้ กับเครื่องอื่นๆ ในเวลาเดียวกัน หาก เครื่องอื่นมีอาการเดียวกัน มีความเป็นได้อย่างมาก ที่ระบบเครือข่ายนี้ ซึ่งหากใช้ Shared Hub จะเป็น ปัญหาค่า Round Trip Delay เกินมาตรฐาน แต่หากเป็น Switching Hub ก็เป็นไปได้ที่ มีปัญหา การเชื่อมต่อ Switches Hub หลาย Hub มากเกินไป ทำให้เกิด Delay สูง รวมทั้งประสิทธิภาพของเครือข่ายลดลง

   -ชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์



รูปที่ 7 แสดงลักษณะการสูญเสียการติดต่อจากเครื่องปลายทาง เนื่องจากมี Delay มากเกินไป



รูปที่ 8 แสดงลักษณะปัญหาของ Host ที่มีปัญหาความไม่พร้อม และมี Delay มาก รวมทั้งเครือข่ายมีปัญหา


ZealKung

  • บุคคลทั่วไป
StepFive
การใช้คำสั่งเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยของค่า Configuration ของเครือข่าย

   *คำสั่ง ipconfig/all



รูปที่ 9 แสดงหน้าจอ ที่แสดงโดยการใช้คำสั่ง ipconfig /all

ipconfig/all เป็นคำสั่งที่ทำให้ท่านสามรถตรวจสอบดู ค่า Configure ต่างๆ ของเครื่อง รวมทั้งเครือข่าย คำสั่งนี้ จะให้ท่านได้ทราบข้อมูล และสามารถตรวจสอบ เมื่อใดที่เกิดปัญหาขึ้น ดังนี้

 -ความพร้อมที่จะทำ Routing

 -Address ของ LAN Card

 -เลขหมาย IP Address ของคอมพิวเตอร์เครื่องนี้

 -เลขหมายของ Sub netmask ของคอมพิวเตอร์เครื่องนี้

 -เลขหมายของ Default Gateway

 -IP address ของ DNS Server

 -ความพร้อมของ DHCP Server

ค่าที่แสดงบนหน้าจอจาก IPCONFIG บอกอะไรแก่เรา ?  ???

      ค่าที่แสดงบนหน้าจอ จาก IPCONFIG บอกอะไรดีๆ เกี่ยวกับการ Troubleshooting แก่เรา ดังนี้  :D

   1. เลขหมาย Address ของ LAN Card - ในกรณีที่ท่านไม่สามารถเชื่อมต่อกับผู้ใด รวมทั้งไม่สามารถ Ping เบอร์ IP Address ของเครื่องท่านเอง ให้ตรวจสอบดู Physical Address ซึ่งก็คือ Address ของ LAN Card หาก ไม่ปรากฏว่ามี ก็แสดงว่า LAN Card ไม่ทำงาน หรือ ไม่พร้อมที่จะทำงาน และอาจเป็นเพราะว่า ยังติดตั้ง Driver ให้กับมัน ไม่เรียบร้อย

   2. เลขหมาย IP ของเครื่องนี้ พร้อมด้วยเลขหมาย Sub Netmask รวมทั้งเลขหมายของ Gateway - ปกติ หากเครื่องของท่าน มีการเชื่อมต่อกับ เครือข่ายอื่นๆ ผ่าน Router ท่านสามารถตรวจสอบดู ค่า Default Gateway ซึ่งจะต้องปรากฏ อยู่บนหน้าจอ เนื่องจากค่านี้ แสดงว่า ท่านเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ผ่าน Router และค่านี้ก็คือค่า เบอร์ IP Address ของ Router นั่นเอง นอกจากนี้ ท่านยังสามารถตรวจสอบดูได้ว่า เครือข่ายของท่านได้รับการจัดแบ่ง Subnet หรือไม่ โดยการดูที่ ค่า Subnet mask หากเป็นเลขที่ลงท้ายด้วย "0" เช่น 255.255.255.0 ก็แสดงว่า เครือข่ายที่ท่านอาศัยอยู่ ไม่ได้ มี Subnet แต่อย่างใด แต่หากมีค่าอื่น เช่น 255.255.255.224 แสดงว่า เครือข่ายของท่าน ได้รับการจัดแบ่ง Subnet เป็นที่เรียบร้อย

   3. ในกรณีที่ท่านไม่สามารถติดต่อ หรือ Ping กับเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ แม้แต่ตนเอง ท่านอาจต้องตรวจสอบ ดูเบอร์ IP Address ของเครื่อง หาก ตรวจไม่พบ ใน IPCONNFIG/all ให้ท่านตรวจสอบดูว่า DHCP Server Enable อยู่หรือไม่ หาก ไม่แสดงว่า มีความเป็นไปได้ ที่ท่านยังไม่ได้จัดตั้งเลขหมาย IP Address แต่หาก เครื่องอื่นๆ ใช้ DHCP Server เพื่อแจก IP อีกทั้ง DHCP ปรากฏในหน้าจอ IPCONFIG/all เป็น Enable อยู่ ก็แสดงว่า การที่ท่านไม่ได้รับเบอร์ IP Address อาจเป็นไปได้ที่ โปรโตคอลที่ชื่อว่า BOOTP ไม่สามารถติดต่อกับ DHCP Server ด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง ให้ท่านลอง Remove และ Reinstall TCP/IP ใหม่ และเพื่อให้แน่ใจว่า เครื่องของท่านทำงานปกติ ท่านอาจใช้ Network Monitor เพื่อตรวจจับดูการสื่อสารระหว่างท่านกับ DHCP Server นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ที่ เครื่องของท่าน อยู่นอกระยะของ IP address ที่กำหนดไว้ใน DHCP Server ซึ่งหมายความว่า IP Address อาจหมดโควต้า แล้วก็ได้

   4. ในกรณีที่ท่านไม่สามารถติดต่อกับ เครือข่ายเพื่อนบ้าน โดยผ่านทาง Router ท่านก็สามารถใช้ IPCONFIG/all เพื่อตรวจสอบดูว่า Router ทำงานอยู่หรือไม่ โดยการ Ping ไปที่ เบอร์ Default Gateway และเพื่อการพิสูจน์ว่า เบอร์ Default Gateway ถูกต้องหรือไม่ ได้อีกด้วย

   5. ยิ่งไปกว่านั้น เลขหมาย IP ของ DNS Server จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึง ปัญหา ว่า เพราะเหตุใด ท่านไม่สามารถ Ping ชื่อคอมพิวเตอร์ บนเครือข่าย ในเมื่อท่านติดตั้ง DNS Server ไว้ ท่านก็สามารถตรวจสอบความพร้อมของ DNS Server บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Linux และ UNIX ท่านสามารถใช้คำสั่ง IPCONFIG - a

ZealKung

  • บุคคลทั่วไป
StepSix
การใช้คำสั่ง Netstat



รูปที่ 10 แสดงสถานะ การทำงานของโปรโตคอล TCP

      Netstat เป็นคำสั่งที่ดีที่สุด คำสั่งหนึ่ง ที่ใช้เพื่อ Troubleshooting หาจุดบกพร่องในระดับ ชั้นเครือข่ายและ Transport ด้วยคำสั่งนี้ Netstat จะแสดงสถิติการทำงานของเครือข่าย และโปรโตคอลบนเครื่องของท่านได้อย่างชาญฉลาด และด้วยความรู้พื้นฐานของ TCP/IP ท่านสามารถใช้ Netstat เพื่อตรวจสอบการทำงานของโปรโตคอลต่างๆ ดังต่อไปนี้ :D

 -โปรโตคอล IP
 -โปรโตคอล ICMP
 -โปรโตคอล UDP

การใช้ Netstat เพื่อแสดงสถานะ การทำงานของ IP

   เมื่อใดที่ท่านต้องการดูสถานะ การทำงานของ IP ในกรณีที่ท่านสงสัยว่า เป็นปัญหาในระดับชั้น Network ท่านสามารถใช้คำสั่ง Netstat -s - p ip จะปรากฏ หน้าจอดังนี้



รูปที่ 11 แสดงสถิติการทำงานของ IP Protocol

   จากรูปที่ 11 แสดงให้เห็นว่า เครื่องคอมพิวเตอร์นี้ ได้รับ Packet เข้ามาจำนวน 4 โดยมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับ Address เพียง 3 เท่านั้น แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับ การระวังไม่ให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นที่ Header ของ IP Packet ซึ่งปกติจะต้องมีค่าเป็น ศูนย์ นั่นคือไม่มีความผิดพลาด นอกจากนี้ ในภาพ ยังแสดงให้เห็นว่า Received Packet Discarded มีค่าเป็นศูนย์ ซึ่งแสดงว่า ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ Packet เกิดขึ้น โดย Packet ที่ได้รับเข้ามาทั้งหมด ได้ถูกจัดส่งขึ้นไปที่ระดับชั้น Transport โดยดูจากหัวข้อ Received packet Delivered มีค่าเท่ากับ Packet Received

   นอกจากนี้ หัวข้ออื่นๆ ยังแสดงให้เห็นถึงการทำงานของ IP ในระดับชั้น Network ซึ่งในที่นี้ ยังไม่ขอกล่าวถึง เนื่องจากต้องการเน้นเรื่อง Troubleshooting มากกว่า :)

การใช้ Netstat เพื่อตรวจสอบสถานะ การทำงานของโปรโตคอล UDP

   โปรโตคอล UDP มีบทบาทการทำงานที่สำคัญ จะเป็นรองก็แต่ TCP เท่านั้น การทำงานของ UDP บนเครือข่ายมีมากมายหลายประการ เช่น การใช้ NetBIOS เพื่อแจ้งชื่อ รวมทั้งเบอร์ ให้แก่คอมพิวเตอร์ที่อยู่ใน Workgroup เดียวกัน หรือเครือข่ายเดียวกัน ต่างก็ใช้ UDP เป็นผู้ ส่งข่าวสารภายใต้ TCP/IP นอกจากนี้ การสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการขอและแจก IP แก่บรรดาเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย ต่างก็ใช้ UDP เช่นเดียวกัน

   ท่านสามารถใช้คำสั่ง Netstat - s -p udp เพื่อตรวจสอบข่าวสารดังนี้



รูปที่ 12 แสดงการใช้ Netstat เพื่อแสดงสถานะ การทำงานของ โปรโตคอล UDP

   จากรูปที่ 12 แสดงให้เห็นว่า Netstat แสดงให้เห็นปริมาณของ Packet หรือ Datagram ที่ได้รับว่ามีปริมาณ เท่าใด รวมทั้งมีข้อผิดพลาดอย่างไร ท่านสามารถใช้คำสั่งนี้ ในกรณีที่ท่านไม่ได้รับการแจก IP Address ท่านสามารถใช้คำสั่งนี้ตรวจสอบดู ว่า มีการติดต่อสื่อสารระหว่างท่านกับ DHCP Server นอกจากนี้ ท่านยังสามารถใช้คำสั่งนี้เพื่อตรวจสอบดู ในกรณีที่ ท่านไม่สามารถ Browse ดูรายชื่อคอมพิวเตอร์บน Workgroup เดียวกัน ซึ่งอาจเกิดจาก UDP หรือ NetBIOS ทำงานบกพร่อง อย่างใดอย่างหนึ่ง

การใช้คำสั่ง Netstat เพื่อตรวจสอบดู หมายเลข Port รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ติดต่อเข้ามา รวมทั้งสถานะ การทำงาน ของ Port และระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน



รูปที่ 13 แสดงสถานะ การทำงานของ Port และเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอล TCP

   ในกรณีที่มีผู้ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน แจ้งว่าไม่สามารถติดต่อกับเครื่องของท่านได้ ท่านสามารถใช้คำสั่ง Netstat - a -n เพื่อตรวจสอบดูชื่อของคอมพิวเตอร์หรือ IP Address ที่ติดต่อเข้ามา รวมทั้งสถานะของการเชื่อมต่อ คราวนี้ เรามาสมมตว่า ได้ใช้ Netstat และเห็นชื่อของคอมพิวเตอร์ ที่กำลังติดต่อเข้ามาแต่สำเร็จ ปรากฏขึ้นที่หน้าจอ ท่านสามารถใช้ หน้าจอนี้ เพื่อดูว่า สถานะ การเชื่อมต่อเป็นอย่างไร? หากเชื่อมต่อได้จริง ท่านควรเห็น State มีค่าเป็น Established หากติดต่อไม่ได้ ท่านอาจเห็น State เป็น Listening หรือ Time_Wait อย่างใดอย่างหนึ่ง การเกิด State ในลักษณะนี้ ให้ท่านสังเกตดู เลขหมายของ Port ที่อยู่ท้ายของ IP Address ที่ติดต่อเข้ามา (หัวข้อ Foreign Address) และดูหมายเลข Port ที่ Local Address ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ Port ไม่ได้เปิดไว้ ให้บริการ หรือการสถาปนาการเชื่อมต่อ ระหว่างเครื่องนี้ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ไม่บรรลุความสำเร็จ

   สำหรับเครื่องที่ติดตั้ง Linux หรือ UNIX ให้ใช้ Netstat - l แทน  ;)



รูปที่ 14 แสดงสถานะ การทำงานของโปรโตคอล TCP

จากรูปที่ 14 แสดงให้เห็นว่า มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น หลายประการ จากการติดต่อกันด้วย โปรโตคอล TCP มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

   -Failed Connection Attempts - เป็นการบ่งบอกให้เห็นว่า มีความพยายามของคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย หรือเครื่องของเราเอง ในอันที่จะสถาปนาการเชื่อมต่อ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ 1 ครั้ง ซึ่งในครั้งนั้น อาจเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ่นว่าไม่สามารถติดต่อกับท่านก็เป็นได้

   -Reset Connection - เป็นการบ่งบอกให้เห็นว่า มีการปฏิเสธการเข้ามาขอใช้บริการจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น หรือท่านพยายามที่จะสถาปนาการเชื่อมต่อ และขอใช้บริการ Services บางรายการจาก Host ปลายทาง แต่ได้รับการปฏิเสธ
 -ในกรณีที่ท่านพยายามจะ Down Load ข้อมูลข่าวสารจาก Host ปลายทาง แต่หยุดค้างระหว่างทาง ท่านสามารถตรวจสอบดูค่า Segment Send และ Segment

   -Received โดยใช้คำสั่ง netstat - s -n 5 -p tcp และสังเกตว่า ทุกครั้งที่หน้าจอเปลี่ยนแปลง ค่าของ Segment Sent จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนค่า Segment Received จะเพิ่มขึ้นมาก หากไม่เป็นเช่นนั้น เช่น ค่า Segment Sent เพิ่มขึ้น แต่ค่า Segment Received มีค่าคงที่แสดงว่า Host ปลายทางไม่ทำงาน และถ้าหากว่า ค่า Segment Sent ไม่เพิ่มขึ้น ก็แสดงว่า เครื่องของท่านมีปัญหาอย่างแน่นอน
 -นอกจากนี้ ให้สังเกตดูที่สถานการณ์เชื่อมต่อ ควรเป็น Established

การใช้คำสั่ง Netstat เพื่อตรวจสอบดู การทำงานของโปรโตคอล ICMP

   ICMP เป็นโปรโตคอลที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมายหลายประการ เช่น การนำพาข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ทำงานของ Host กับ Host Router กับ Host รวมทั้ง Router กับ Router ด้วยกัน โดยมีการใช้ ICMP ที่อยู่ภายในเครื่องหรือ Router ทำหน้าที่แจ้งปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น กลับไปยังต้นทาง ที่ส่งข่าวสาร เพื่อ Ping ดูกัน นอกเหนือไปจากการรายงานความผิดพลาดแล้ว ยังมีการนำเอา ICMP มาใช้งานเพื่อตรวจสอบและร้องขอข้อมูลจากเครื่องลูกข่ายปลายทาง ที่กำหนดไว้ได้ เช่นเดียวกัน



รูปที่ 15 แสดงสถานการณ์ทำงานของ ICMP

ต่อไปนี้ เป็นประเภทการรายงานความผิดพลาดโดย ICMP ดังนี้

ตารางที่ 2 แสดงประเภทการรายงานความผิดพลาดของ ICMP  ;)



จากรูปที่ 15 ท่านจะเห็นว่า การใช้คำสั่ง Netstat -s -p icmp จะสามารถรายงานสถานการณ์ทำงานของ เครือข่าย หรือ เครื่องลูกข่าย รวมทั้ง Router ได้ ตัวอย่าง เช่น Destination Unreachable จำนวน 1 ครั้ง รวมทั้งจำนวนครั้งของ Datagram ที่ใช้เวลาในการเดินทาง ไปหรือกลับ มากเกินไป ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงระยะทาง รวมทั้งปัญหา Delay บนเครือข่ายได้เป็นอย่างดี

   นอกจากท่านสามารถใช้ Netstat เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ทำงานของโปรโตคอลต่างๆ แล้ว ท่านยังสามารถใช้เพื่อตรวจสอบดู Routing Table ของเครื่องได้อีกด้วย



รูปที่ 16 แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Routing Table โดย คำสั่ง Netstat -r

   รูปที่ 16 แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ เส้นทาง ที่ คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ สามารถมองเห็น เช่น ระยะทางการสื่อสารระหว่าง เครื่องนี้ กับเครื่องที่ใช้ IP เบอร์ 203.149.35.231 อยู่ห่างกันมาถึง 50 Hops เป็นต้น อย่างไรก็ดี การใช้คำสั่ง Netstat -r ไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การ Troubleshooting ระบบเครือข่าย มากนัก ดังนั้น จึงไม่เน้นคำสั่งนี้

ZealKung

  • บุคคลทั่วไป
StepSeven
การใช้คำสั่ง Tracert


      คำสั่ง Tracert เป็นคำสั่งที่จะช่วยให้ท่านสามารถ ติดตามดูเส้นทางการเชื่อมต่อของ Router ไปยังจุดหมายปลายทาง ท่านสามารถใช้คำสั่ง Tracert เพื่อประเมินว่า Router หรือการเชื่อมต่อบนเส้นทางที่ทอดสู่คอมพิวเตอร์ปลายทางนั้น เกิดปัญหาติดขัดหรือไม่  ???

      การทำงานของ Tracert ได้แก่การ ส่งชุดของ ICMP Echo Request ออกไป ในการร้องขอแต่ละครั้งจะมีการเพิ่มค่า TTL เป็น 1 ค่าเสมอ เมื่อ Router ตัวแรกได้รับข่าวสาร มันจะลดค่า TTL ลงไป 1 ค่า และเมื่อใดที่ค่า TTL บนข่าวสารที่ร้องขอเข้ามาเหลือค่า เป็น 1 ก็หมายความว่าค่า TTL ของ Router จะมีค่าเป็นศูนย์ นั่นคือ จะเกิดปัญหาที่เรียกว่า "Time Exceed " ในลักษณะของข่าวสารปรากฏที่หน้าจอ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอไป คำสั่งของ Tracert มีรูปแบบการใช้งาน ดังนี้  :D





รูปที่ 17 แสดงหน้าจอที่ใช้ Tracert เพื่อติดตามดูการเชื่อมต่อของเครือข่ายตลอดเส้นทาง



รูปที่ 18 แสดงปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากใช้คำสั่ง Tracert

      จากรูปที่ 18 จะเห็นว่า ลำดับเลขหมาย Hop m 18 และ 19 มีรูปดอกจัน ปรากฏอยู่ มีความหมายว่า Hop ดังกล่าว มีค่า Delay มากเกินไป หรือเกิดปัญหาติดขัด และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องนี้ ติดต่อกับเครื่องปลายทางได้ช้ามาก  ;)



ZealKung

  • บุคคลทั่วไป
StepEight
อาการและปัญหาในระดับ IP หรือ Network


      ต่อไปนี้ เป็นอาการและสาเหตุ ของปัญหาบนเครือข่าย IP  ???

อาการ #1 เครื่องที่มีปัญหาไม่สามารถ Ping เลขหมาย 127.0.0.1 ของตนเองได้   :)

สาเหตุ 1 : Driver ของ TCP/IP หรือ LAN Card ไม่ได้รับการติดตั้งตามปกติ หรือเกิดความเสียหาย

สาเหตุ 2 : การทำงานของ LAN Card บกพร่อง

สาเหตุ 3 : โปรโตคอล TCP/IP บกพร่อง

อาการ #2 ไม่สามารถ Ping เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีปัญหา ที่อยู่ใน Subnet เดียวกัน  ;)

สาเหตุ 1 : เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีปัญหา ไม่ได้ติดตั้งหรือทำงานบนเครือข่าย เช่น ปิดเครื่องไปแล้ว

สาเหตุ 2 : การจัด Configure ให้กับ LAN Card ไม่เรียบร้อย ไม่ถูกต้อง

สาเหตุ 3 : IP Address ไม่ถูกต้อง หรือ ค่า Subnet mask ไม่ถูกต้อง

อาการ # 3 เครื่องที่มีปัญหาไม่สามารถ Ping ไปยังเครื่องอื่นที่อยู่ใน Subnet เดียวกัน   :D

สาเหตุ 1 : เครื่องที่มีปัญหานี้ มีปัญหาการเชื่อมต่อ กับเครือข่าย

สาเหตุ 2 : เครื่องปลายที่กำลัง Ping เข้าไปหาอยู่ ยังไม่ทำงานหรือยังไม่ได้เชื่อมต่อบนเครือข่าย

สาเหตุ 3 : ใช้เลขหมายเบอร์ IP ไม่ถูกต้องขณะทำการ Ping ไปที่เครื่องปลายทาง

อาการ # 4 เครื่องที่มีปัญหาไม่สามารถ Ping ไปที่ Default Gateway หรือ Router   ;D

สาเหตุ 1 : เครื่องที่กำลัง Ping อยู่ยังไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่าย

สาเหตุ 2 : IP Address หรือค่า Subnet mask ของเครื่องที่มีปัญหา ไม่ถูกต้อง

สาเหตุ 3 : เบอร์ IP Address ของ Router ที่ใช้ในการ Ping เข้าหา มีค่าไม่ถูกต้อง

สาเหตุ 4 : การจัด Configure Default Route ไม่ถูกต้อง

สาเหตุ 5 : Ethernet Port ของ Router ไม่ทำงาน หรือกำลัง Down อยู่ รวมทั้งการเชื่อมต่อไม่เรียบร้อย

สาเหตุ 6 : ปัญหาเกี่ยวกับ DHCP โดยที่ DHCP Server ที่มีหน้าที่แจก IP Address ถูกย้ายไปอยู่ Segment อื่น หรือ เครือข่ายอื่น หรือ DHCP Server แจกเบอร์ IP Address ไม่ถูกต้องออกมา

อาการ #5 เครื่องไม่สามารถ Ping ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่อยู่คนละ Subnet    :o

สาเหตุ 1 : การจัดค่า Configure ของ Default Gateway ไม่ถูกต้อง

สาเหตุ 2 : ไม่มีการติดตั้ง Default Gateway ที่ Router หรือใส่ค่าไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้ชี้ Gateway อย่างถูกต้องบน ตัว Router หรือ Serial Port ของ Router ไม่ทำงาน หรือ LAN Card ที่ทำหน้าที่ เป็นตัวชี้ Gateway ไม่ สามารถทำงานอย่างถูกต้อง

สาเหตุ 3 : เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่คนละ Subnet นั้น ไม่ทำงาน

สาเหตุ 4 : Port ของ Ethernet ที่ติดตั้งบน Router ไม่ทำงาน

สาเหตุ 5 : การจัดตั้ง Access List ไม่ถูกต้อง มีการ Block การออกไปสู่นอกเครือข่ายของเครื่องนี้

สาเหตุ 6 : การทำงานของ Router เกิดความบกพร่อง

อาการ #6 เครื่องอื่นๆบนเครือข่าย ไม่สามารถ Ping ไปที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังมีปัญหา    8)

สาเหตุ 1 : เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีปัญหา ไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่าย

สาเหตุ 2 : ชื่อของ Host ไม่ถูกต้อง

สาเหตุ 3 : การ Map ชื่อของคอมพิวเตอร์กับ IP Address ไม่ถูกต้อง

สาเหตุ 4 : IP Address ของ DNS Server ไม่ได้รับการจัด Configure อย่างถูกต้อง

สาเหตุ 5 : DNS Server ไม่ทำงาน หรือทำงานผิดพลาด

สาเหตุ 6 : ตารางที่เกี่ยวกับชื่อ Host ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีปัญหา มีการ Map IP address มาอย่างไม่ถูกต้อง



รูปที่ 19 แสดงลักษณะการทำงานของ DNS Server หลังจากใช้คำสั่ง nslookup



รูปที่ 20 แสดงลักษณะของปัญหาของ DNS Server ที่ไม่สามารถจัดการกับ IP Address และชื่อได้

อาการ #7 เครื่องที่มีปัญหาไม่สามารถ Ping ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่คนละ Subnet ได้   :P

สาเหตุ 1 : ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประกอบการ Ping ไม่ถูกต้อง

สาเหตุ 2 : เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ไม่ทำงาน

สาเหตุ 3 : เบอร์ IP Address ของ DNS Server ไม่ได้รับการจัด Configure อย่างถูกต้อง บนเครื่องที่มีปัญหา

สาเหตุ 4 : DNS Server ไม่ทำงาน

สาเหตุ 5 : ตาราง Host ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีปัญหา ประกอบด้วยชื่อ และ IP Address ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะ เครื่องคอมพิวเตอร์ ปลายทางที่อยู่คนละ Subnet

สาเหตุ 6 : ค่า IP Address ของ Default Route ไม่ได้รับการจัด Configure อย่างถูกต้อง

อาการ # 8 การเชื่อมต่อขาดช่วงเป็นครั้งเป็นคราว    ::)

สาเหตุ 1 : เครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังติดต่ออยู่ กำลังทำงานหนัก รวมทั้งมีปัญหาที่เครือข่ายปลายทางทำงานช้า

สาเหตุ 2 : เกิดปัญหา IP Address ชนกัน

สาเหตุ 3 : ปัญหา TCP Connection Timeout เนื่องจากมีปัญหา Delay มากเกินไป

สาเหตุ 4 : ปัญหา เกิดจากการที่มี IP Address แบบ Static และ แบบ Dynamic อยู่ร่วมกัน

อาการ #9 การเชื่อมต่อทาง IP ไม่มีปัญหา แต่ Application ไม่ทำงาน   :-[

สาเหตุ 1 : มีการจัดตั้ง Access List บน Router ที่ Block การวิ่งผ่านของ Application ดังกล่าว

สาเหตุ 2 : Application ไม่ทำงาน

อาการ #10 เครื่องลูกข่ายแบบ Diskless (เครื่องลูกข่ายที่ไม่ได้ติดตั้ง Hard Disk หรือ Floppy Drive) ไม่ทำงาน    :-\

สาเหตุ 1 : ในกรณีที่เชื่อมต่อผ่าน Router มีความเป็นไปได้ที่ Router ได้ ทำการ Block BOOTP Broadcast ไว้ ทำ ให้ เครื่องนี้ ไม่สามารถติดต่อกับ DHCP Server

สาเหตุ 2 : มีการจัดตั้งเพื่อ Block การวิ่งผ่านของโปรโตคอลบางตัว รวมทั้ง BOOTP อย่างไม่ถูกต้อง

อาการ #11 ประสิทธิการทำงานของเครือข่ายภายใต้ TCP/IP ต่ำมาก    :-*

สาเหตุ 1 : การจัดค่า Configure ของ DNS Client ไม่เหมาะสม ทำให้ Client ต้องรอจนกว่า การร้องขอติดต่อกับ DNS Server ในครั้งแรก ให้ Time out เสียก่อน จึงเริ่มอนุญาตให้ติดต่อกับ DNS Server ตัวที่ 2 ได้

สาเหตุ 2 : DNS Server ไม่ได้รับการ จัด Configure ให้ทำ Reverse Lookup อย่างถูกต้อง หรือ DNS Server ไม่ สามารถจัดการให้ Reverse Lookup สามารถทำงานได้ตามปกติ

สาเหตุ 3 : ตารางข้อมูลของ DNS Server ไม่สมบูรณ์ ไม่มีข้อมูลการ Map IP Address กับชื่อที่เกี่ยวข้อง หรือมีแต่ ไม่ถูกต้อง

สาเหตุ 4 : Switching Hub ทำงานหนักมาก ให้สังเกตดูหลอดไฟ บางดวงกระพริบตลอดเวลา

สาเหตุ 5 : เกิดปัญหา Overload บนเส้นทางที่ TCP โปรโตคอลเดินทางผ่าน

อาการ # 12 บนเครือข่าย TCP/IP มีปัญหาเกี่ยวกับ Retransmission เป็นอย่างมาก    :-X   :'(

สาเหตุ 1 : เครื่องส่ง Packet ไปยังปลายทาง เกิดปัญหา Delay มาก เนื่องจาก เครือข่ายติดขัด รวมทั้ง Switching Hub หรือ Router ทำงานหนักมาก เกินไป ทำให้ การตอบรับ (Acknowledge) ของเครื่องปลายทาง มาช้า เกินไป จนเกิด Time out เป็นเหตุให้มีการ ส่งข้อมูลซ้ำ ๆ หลายครั้ง

สาเหตุ 2 : Packet เกิดความเสียหาย ขณะเดินทางไปมาหาสู่กัน โดยเฉพาะค่า CRC ที่เฟรมข้อมูล เกิดความผิดพลาด ทำให้ เครื่องที่ส่ง Packet ต้องส่งข้อมูลซ้ำอีกครั้ง

สาเหตุ 3 : ข้อมูลเกี่ยวกับ TCP เกิดความผิดพลาด ทำให้ต้องส่งข้อทูลซ้ำ

สาเหตุ 4 : ชิ้นส่วนของ Packet ที่ผ่านการทำ Fragments มีบางส่วนที่สูญหายไป

สาเหตุ 5 : เกิดปัญหา Overflow ที่เครื่องรับ

สาเหตุ 6 : การตอบรับด้วย Acknowledge ของเครื่องรับ มาช้าเกินไป ทำให้ ต้องส่ง Packet ซ้ำ

ตารางที่ 4 Troubleshooting ปัญหาการเชื่อมต่อ TCP/IP




The End
จบแล้ว หวังว่าได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

ToT_Online

  • บุคคลทั่วไป
คำสั่งที่ไว้ใช้บน Run และ ดอสนี้ ตอนใช้ระบบเครือข่าย พอจะมีคำสั่งรัยบ้าง นายชื่อรัยนะ เราจะได้เรียกถูก

ZealKung

  • บุคคลทั่วไป
อ่านให้ละเอียดละครับบอกไว้หมดแล้ว

ข้าน้อยมีนามว่า D€sper@do

ToT_Online

  • บุคคลทั่วไป
อืมๆ รับทราบคับ ผม บอย นะ สิงสถิตอยู่ที่เว็บ Pcmedias มีไรทักถามได้นะคับ ผมพวกหัวปรับแต่งคอมพ์หัวรุน ;Dแรงงับ

ToT_Online

  • บุคคลทั่วไป
จัยนะ ไงก็ขอเอาไปเผยแฟร่หน่อยละกัน  ;D ขอบคุงอีกครั้ง

แฟนพันธุ์แท้สยามคาเฟ่


ออฟไลน์ Admin!

  • อยู่ใต้ฟ้าอย่าท้าฝน เกิดเป็นคนอย่าท้ากรรม !
  • admin
  • ********
  • กระทู้: 4182
  • Reputation: 101
  • เพศ: ชาย
  • สัจจะคือคำขาด
    • http://www.siamcafe.net
สุดยอดไอ้น้องเอ้ย แปะๆๆ :D :D :D

ออฟไลน์ ผักหวาน

  • นักเรียนมัธยม
  • *****
  • กระทู้: 244
  • Reputation: 1
  • คุณทำให้เราได้รักกัน
โว้ หาข้อมูลมาได้เพียบเลย แจ่มๆ
Signature cleanned by Admin

candyboy

  • บุคคลทั่วไป
สุดยอด ม๊ะก้วยเต๊ด...... ;)

ออฟไลน์ DeAtH_MeTaL

  • นักเรียนประถม
  • ****
  • กระทู้: 65
  • Reputation: 0
สุดยอด แห่งความรู้... :-X
Signature cleanned by Admin

babynaja

  • บุคคลทั่วไป
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

ออฟไลน์ Admin!

  • อยู่ใต้ฟ้าอย่าท้าฝน เกิดเป็นคนอย่าท้ากรรม !
  • admin
  • ********
  • กระทู้: 4182
  • Reputation: 101
  • เพศ: ชาย
  • สัจจะคือคำขาด
    • http://www.siamcafe.net
รูปหายตาม ข้อมูลหลงเหลือไว้แต่ Database ขออภัยด้วยนะพี่เจสดาวาน UP ใหม่ทีครับ  ;)

batman

  • บุคคลทั่วไป
 :c_laugh:  ใครขโมยรูปไปเอามาคืนด่วน  :c_laugh:

ออฟไลน์ McMoore4110

  • นักเรียนมัธยม
  • *****
  • กระทู้: 159
  • Reputation: 0
  • เพศ: ชาย
Signature cleanned by Admin


kkd370579

  • บุคคลทั่วไป
โห้ ยาวมากเลยกว่าจะอ่านจบ :D

file

  • บุคคลทั่วไป
ขอบคุณมากครับ   :)

ออฟไลน์ Sabuy_D

  • นักเรียนประถม
  • ****
  • กระทู้: 59
  • Reputation: 0
 ๛emoticon58:Thank >>>> Good  ๛sc
Signature cleanned by Admin

girl

  • บุคคลทั่วไป
มีประโยชน์มากเลยค่ะ แต่ทำไมถึงไม่ขึ้นรูปล่ะคะกะว่าจะprintเก็บไว้อ่านซักหน่อยอ่า อ่านหน้าจอคอมแล้วมานปวดตาน่ะค่ะ ที่จริงถ้าหนู่เก่งๆ อยากจาทำหนังสือที่มันซูมสำหรับอาชีพคนทำร้านเน็ตโดยเฉพาะเลยน่ะค่ะ แบบว่าเหมือนหนังสือเรียนเลยค่ะ น่าจะบอกวิธีต่างๆ ในการเซตระบบให้ละเอียดเลย ท่าจะดีนะคะ อิอิ :)

ZealKung

  • บุคคลทั่วไป
ข่าว: ขออภัยสำหรับฐานข้อมูลและข้อมูลรวมถึงระบบสมาชิกทุกๆท่าน เนื่องจากเรามีความจำเป็นจะต้อง Roll Back ฐานข้อมูลไปใช้ของเก่าจึงทำให้กระทู้และไฟล์แนบบางไฟล์หายไป ขออภัย มาณ ที่นี้ด้วยครับ..D.J.BOM

ต้องขออภัยภาพประกอบก็สบไปหมดแล้วไว้จะลองหาดูใหม่

ZealKung

  • บุคคลทั่วไป
ขณะนี้ได้แก้ไข้เรียบร้อยแล้วนะครับ

ส่วนตารางอีกนิดหน่อยจะนั่งทำก่อน วันนี้สมบูรณ์แน่นๆ

ทุกๆท่าน

peter99

  • บุคคลทั่วไป

aektrd

  • บุคคลทั่วไป
ขอบคุนคับ  รบกวนอีกเรื่องได้มั๊ยคับ ขอเป็นแบบที่เอาไป Print เป็นคู่มือไว้ดูได้ปะคับ จะเป็นพระคุณมากๆ เลยคับไม่ได้ก็ไม่เป็นไรนะคับ
แค่นี้ก็ดีมากๆเลยอะคับ  ::) ::) ::) ::) ::) ;)

ออฟไลน์ prapan09

  • ผ่านการทดสอบเลื่อนชั้น
  • **
  • กระทู้: 45
  • Reputation: 0
ขอบคุณครับ
Signature cleanned by Admin

chan1625

  • บุคคลทั่วไป
บทความดีมากครับแต่รูปไม่ขึ้นขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ดีๆ

snakehead

  • บุคคลทั่วไป
 ::)รูป หายอะคับ รบกวนช่วยอัพให้ใหม่ทีดิคับ แล้วก้อขอบคุณสัมหรับความรู้คับ
 อย่าลืมอัพรูปให้ใหม่ด้วยน่ะคับ  ขอบคุณคับ

joyz

  • บุคคลทั่วไป

smartbank

  • บุคคลทั่วไป
thak thank thank จินตนาการรูปเอา รูหาย  :'(

ออฟไลน์ Admin!

  • อยู่ใต้ฟ้าอย่าท้าฝน เกิดเป็นคนอย่าท้ากรรม !
  • admin
  • ********
  • กระทู้: 4182
  • Reputation: 101
  • เพศ: ชาย
  • สัจจะคือคำขาด
    • http://www.siamcafe.net
เอามั่งสิ. 8)แต่อันนี้ Linux เพียวๆนะครับ แต่ Network ชั้นสูงเลย

คำสั่งพื้นฐานสำหรับ Linux


เริ่มต้นใช้งานอะไร สิ่งจำเป็นอย่างแรกก็คงจะหนีไม่พ้นคำสั่งพื้นฐานในการใช้งานกันแหละ Linux เองก็เช่นกัน คำสั่งพื้นฐานที่จะแนะนำให้ๆ คุณๆ นี้เป็นคำสั่งเบื้องตนที่หลายๆ คนที่ใช้ Linux เอง ก็รู้อยู่แล้ว เอาเป็นว่าแนะนำคนที่จะหันมาลองใช้ OS ตัวนี้กันดู เปิดมาจะได้ไม่งงซะก่อนพาลจะไม่อยากใช้มัน และกล่าวหาว่ามันใช้งานยากดีแท้ เหอะๆ ว่ากันเลยนะ

cd [directory]
cd หรือ change director ใครคุ้นเคยกะ dos คงจะคุ้นเคยกะคำสั่งนี้
คำสั่งนี้เอาไว้ย้ายที่อยู่ของคุณไปยัง directory ที่คุณต้องการ เช่นหลังจาก log in เข้าสู่ระบบแล้ว (สมมุติอยู่ใน /home/user1 และกันนะ) และอยากจะย้ายที่อยู่ไปยัง directory อื่นทำได้โดยการใช้คำสั่งนี้แหละ อย่างเช่น cd /etc เพื่อ ไปยัง /etc หรือ cd .. เพื่อย้ายไปยัง directory ก่อนหน้า (ถ้าคุณอยู่ใน /home/user1 คุณจะย้ายออกมาอยู่ที่ /home)

mkdir [directory]
สำหรับสร้าง directory ขึ้นมาใหม่ อย่างเช่นต้องการสร้าง directory สำหรับเก็บเอกสารทำได้โดยการพิมพ์ mkdir Docs (สร้าง directory ชื่อ Docs ขึ้นมา) จะสร้าง directory ที่ไหนได้ หมายความว่าคุณต้องมีสิทธิ์ในการสร้างใน directory นั้นๆ ด้วยนะ
useradd -D เปลี่ยนค่า Default ของคำสั่ง

mdir [directory]
หลังจากสร้างแล้วไม่เป็นที่พอใจ ลบได้โดยใช้คำสั่งนี้ อย่างเช่น rmdir Docs (ลบ directory ชื่อ Docs) ปกติ rmdir จะลบได้เฉพาะ directory ที่ไม่มีอะไรอยู่ข้างใน ถ้าคุณต้องการลบ directory ที่มี file หรือ directory อื่นอยู่ในนั้นใช้คำสั่ง rm -r [directory]

rm [file]
rm ใช้สำหรับลบ file ถ้าต้องการลบ file ชื่อ readme.txt ใช้คำสั่งนี้ rm readme.txt ถ้าต้องการลบ directory ที่มีหรือไม่มี file อยู่ข้างในใช้ rm -r [file or directory] อาจจะสงสัยแล้วทำไมต้องมี rmdir คิดว่าเค้าเอาไว้ป้องกันความผิดพลาดหรือเผลอเลอของผู้ใช้ เท่านั้นเอง ว่าจริงๆ แล้วคุณต้องการลบ file หรือ directory กันแน่

pwd
แสดง path ปัจจุบันที่คุณอยู่

ls
แสดงรายชื่อ file ใน directory ถ้า ls -l จะแสดงแบบยาว หรือถ้าต้องการแสดง file ที่ซ่อนอยู่ (พวก file ที่ขึ้นต้นด้วย . ) ใช้คำสั่ง ls -a หรือ ls -la ก็ได้ตามชอบใจ จะว่าไปก็เหมือนกับ dir ใน dos นั่นแหละ ถ้าต้องการแสดงเฉพาะ file ที่มีนามสกุลเป็น .txt ก็ พิมพ์ ls *.txt

mv [file1] [file2]
ย้ายมันไปที่อื่น หรือเปลี่ยนชื่อมัน (มันที่ว่าคือ file หรือ directory นั่นเอง)

cp [file1] [file2]
copy มัน ถ้าต้องการ copy ทั้ง directory ใช้ cp -r [dir1] [dir2]

cat [file]
แสดงข้อมูลใน file ออกทางจอภาพ อยากรู้ว่าใน file นั้นมีข้อมูลอะไรอยู่ โดยไม่ต้องเปิด file ใช้คำสั่งนี้ อย่างเช่น cat /etc/passwd

more [file]
แสดงทีละบรรทัด ถ้า file มันยาวมากเกินหน้าจอ ใช้ cat อาจจะไม่สะดวก เพราะอาจจะมองไม่ทัน ก็ใช้ more แทน เลื่อนดูข้อมูลหน้าถัดไปโดยการเคาะ space bar

less [file]
เหมือน more คงเขียนขึ้นมาเพื่อเพิ่มความสามารถของ more เอง เพราะ more มันดูได้แต่หน้าถัดไป แต่ less สามารถเลื่อนกลับไปดูข้อมูลก่อนหน้าได้ โดย space bar เป็นการเลื่อนดูหน้าถัดไป และ b เป็นการเลื่อนดูหน้าก่อนหน้า ถ้าต้องการเลื่อนไปทีละครึ่งหน้า ใช้ d ถ้าเลื่อนกลับครึ่งหน้าก็ใช้ u รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากคำสั่ง less --help

คำสั่งพื้นฐานสำหรับ Linux (ตอน 2)
การใช้งานLinux จะ มีคำสั่งที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ต้องรู้และเป็นคำสั่งที่เพิ่มเติมเข้ามาอีกจากตอนที่ 1 เป็นการแนะนำคนที่จะหันมาลองใช้ OS ตัวนี้กันดู ขอให้ทำความเข้าใจ และอดทนกันหน่อยนะ

คำสั่งเกี่ยวกับ File
cd [directory]
ย่อมาจาก change directory เป็นคำสั่งเดียวกันกับ dos แต่ ที่ต่างกันนิดหนึ่งคือ ใน dos การเขียนชื่อ directory จะเป็น test แต่ถ้าใน unix จะเป็น /test ถ้าต้องการไป directory test ก็พิมพ์ cd test หรือถ้าพิมพ์ cd เฉยๆ แล้วเคาะ Enter จะเป็นการเปลี่ยน directory ไปที่ home directory ของผู้ใช้ สำหรับ directory ใน unix นั้นไม่เหมือนใน dos unix ไม่มี disk lable เช่น c: หรือ d: directory ที่อยู่บน สุดของ unix เรียกว่า root directory เขียนสั้นๆว่า / โครงสร้าง directory จะประกอบด้วย /bin, /usr/bin เก็บ คำสั่งใช้งานทั่วไป /sbin, /usr/sbin ใช้เก็บคำสั่ง ของ admin ทั้ง /bin, /usr/bin/, /sbin, /usr/sbin มักใช้เก็บโปรแกรมที่มาพร้อมกับ CD และติดตั้งลงในเครื่องตอนลง Linux (อีกนิดหนึ่ง bin หมายถึง directory นั้นเก็บ binary file สำหรับ sbin หมายถึง directory นั้นเก็บ sytem binary คือเป็นคำสั่งสำหรับผู้ดูแลระบบเท่านั้น) /etc ไว้เก็บ configuration ต่างๆของระบบ /var ใช้เก็บข้อมูลของโปรแกรม รวมทั้ง log ของระบบ สำหรับโปรแกรมที่เรา compile และติดตั้งเองมักจะอยู่ใน directory ชื่อ /usr/local และท้ายสุด คือ home directory /home ใช้เก็บข้อมูลของผู้ใช้ในระบบ เช่นถ้าสร้าง ผู้ใช้ชื่อ joy ระบบก็จะสร้าง directory ชื่อ /home/joy ให้โดยอัตโนมัติ

mv [ชื่อ file ต้นทาง] [ชื่อ file ปลายทาง]
ตรงกับคำสั่ง ren หรือ rename ใน dos แต่ทำงานได้มากกว่า mv ย่อมาจาก move ตัวอย่างการใช้งาน mv test test2 จะเป็นการเปลี่ยนชื่อ file จาก test ไปเป็น test2 หรือ mv /test /test2 จะเป็นการเปลี่ยนชื่อ directory จาก test ไปเป็น test2 และ mv /test /temp/ โดยที่ temp เป็น directory ที่มีอยู่แล้วจะเท่ากับเป็นการย้าย /test ไปเป็น directory ย่อยของ /temp (/temp/test

ls
คำสั่งนี้ใช้แสดงรายชื่อ file ใน directory (หรือ Folder ) ตรงกับคำสั่ง Dos ที่ชื่อ Dir มี option บางทีก็เรียกว่า argument ที่สำคัญได้แก่ -l ให้แสดงรายละเอียดของ file, -a แสดง file ทั้งหมดรวมทั้ง hidden file ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือ file ที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย . เช่น .profile
ตัวอย่างเช่น ls -l man* หรือ ls -l -a man * หรือ ls -la man* การใช้ wildcard เช่น * ส่วนใหญ่ก็คล้ายกับ windows หรือ dos แต่ที่เด็ดกว่านั้นคือ เราสามารถใช้ wildcard กับ Directory ด้วยเช่น ls /usr/local/apach*/ht* ก็สามารถแสดง file ที่เก็บใน directory/usr/local/apache/htdocs แต่ถ้าใน /usr/local/apache มี directory /htdocs กับ httpd แล้วละก็ เฉพาะ file ใน htdocs จะถูกแสดงเท่านั้นคำสั่งนี้เป็นคำย่อของ List

rm [file]
คำสั่ง ลบ file เหมือนคำสั่ง del ใน dos สามารถใช้ wildcard ได้เช่นเดียวกับ ls และมี option เดียวที่คือ -r ซึ่งเมื่อใช้คำสั่ง rm -r /usr/src/temp หมายความว่า ให้ลบ file และ directory ย่อยทั้งหมดที่อยู่ภายใน directory /usr/src/temp rm ย่อมาจาก remove

pwd
กรณีที่เรา เปลี่ยน directory ไปมาจนสับสนจำไม่ได้ว่าตอนนี้ตัวเองอยู่ใน directory ใด ให้ใช้คำสั่ง pwd เพื่อดูว่าเราอยู่ใน directory ใด pwd ย่อมาจาก pop หรือ print working directory

chmod
คล้ายกับคำสั่ง Attrib ของ Dos เป็นการเปลี่ยน mode การใช้งานของ file คือปกติ file ใน unix จะมี mode การใช้งาน และสิทธิในการใช้งานอยู่กับ file
โดยเราสามารถเรียกดู mode การใช้งานได้จากคำสั่ง ls -l ตัวอย่างเช่น#ls -l /etc/host.conf
# -rwxr--r-- root.daemon host.conf ..
ตรง -rwxr--r-- เป็นตัวที่บอกสิทธิการใช้ file โดยสังเกตว่า -[rwx][r--][r--] นั้นประกอบด้วยตัวอักษร 10 ตัว 1 ตัวแรกบอกว่า เป็น file หรือ directory ถ้าเป็น file ใช้สัญลักณ์ - ถ้าเป็น directory จะถูกแทนด้วย D ดังนั้น /etc/host.conf จึงเป็น file สัญลักษณ์ 3 ตัวถัดมาจะเป็นการบอกว่า เจ้าของมีสิทธิในการใช้ file อย่างไร rwx ตัวแรกใน 3 ตัวนี้แทนสิทธิในการอ่านดู file ใช้สัญลักษ์ r แทน อ่านได้ และ - แทนไม่มีสิทธิอ่าน ตัวที่ 2 ระบุว่ามีสิทธิการเขียนหรือแก้ไข file หรือไม่ w แปลว่า แก้ไขได้ - แปลว่าแก้ไขไม่ได้ และตัวสุดท้ายแทนว่าสามารถรันคำสั่งนี้ได้หรือไม่ (run หรือ execute) x แปลว่า execute หรือ run คำสั่ง /etc/host.conf ได้และ - แทนไม่ได้
สัญลักษณ์ 3 ตัวถัดมาแทนสิทธิของผู้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเจ้าของ file การอ่านค่าก็เหมือนที่อธิบายไปแล้ว
สัญลักษณ์ 3 ตัวสุดท้ายแทนสิทธิการใช้ file ของคนทั่วไป ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม
ตัวอย่างที่เห็นบอกว่า /etc/host.conf สามารถอ่านเขียนและ run ได้โดยเจ้าของ และคนในกลุ่มเดียวกันกับเจ้าของและคนอื่นสามารถอ่านได้ ไม่สามารถแก้ไข หรือ run คำสั่งได้

mkdir [ ชื่อ directory]
คำสั่งนี้เข้าใจง่ายเป็นคำสั่งสร้าง directory ซึ่งตรงกับคำสั่ง md ของ dos

rmdir [ชื่อ directory]
คำสั่งนี้เข้าใจง่ายเป็นคำสั่งลบ directory ซึ่งตรงกับคำสั่ง rd ของ dos

cat [file]
แสดงข้อมูลใน file ออกทางจอภาพ อยากรู้ว่าใน file นั้นมีข้อมูลอะไรอยู่ โดยไม่ต้องเปิด file ใช้คำสั่งนี้ อย่างเช่น cat /etc/passwd หากต้องการจะออกจากคำสั่ง cat ให้กดปุ่ม Ctrl-d ซึ่งจะหมายถึง การส่งสัญลักษณ์ end-of-file (EOF) ไปให้กับคำสั่ง z

vi
ใช้ในการแก้ไข file โปรแกรมนี้ใช้งานยาก และคงต้องไปอ่านคู่มือเอาเอง แต่หลักๆ ก็คือ ปกติเมื่อจะใช้งานให้ พิมพ์ vi ตามด้วยชื่อ file เช่น vi test เป็นต้น ปกติเมื่อเรียกโปรแกรมเสร็จแล้วเราจะยังไม่สามารถป้อนข้อมูลหรือพิมพ์ได้ เราเรียกสถานะการณ์นี้เรียกว่า command mode เราต้องกดปุ่ม i (ตัวอักษร i) เพื่อจะเข้าสู่ Edit mode ซึ่งเราจะสามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ และเมื่อพิมพ์จนสาแก่ใจแล้ว ก็ให้กดปุ่ม esc เพื่อกับเข้าสู่ command mode และ พิมพ์ : (semicolon) ตามด้วย w เพื่อ บันทึกข้อมูล (:w) หรือ :wq เพื่อบันทึกข้อมูลและออกจากโปรแกรม หรือ :q! เพื่อออกจากโปรแกรมโดยไม่บันทึกข้อมูล vi ย่อมาจาก visual editor

cp [file source] [file destination]
เป็นคำสั่ง copy ของ dos นั้นเอง แต่มี option หนึ่งที่ใช้ประจำคือ -R ซึ่งจะทำให้โปรแกรม cp ทำงานได้เหมือน Xcopy ตัวอย่างการใช้งานเช่น cp test1 test2 เป็นการ copy เนื้อหาของ file test1 ไปใส่ใน file test2 หรือ สมมติว่าใน directory /usr ประกอบด้วย directory ย่อยคือ temp local src เมื่อเราออกคำสั่ง cp -R /usr /var จะเท่ากับ copy เนื้อหาใน direcotry ทั้งหมดไปเก็บไว้ใน directory var รวมทั้ง copy directory ย่อย temp local src และเนื้อหาของมันไปเก็บไว้ใน directory /var เป็นต้น cp ย่อมาจาก copy

chown
คำสั่งเปลี่ยนเจ้าของ file ตัวอย่าง เมื่อเราออกคำสั่ง ls -l /etc/host.conf
# -rwxr--r-- root.daemon host.conf ..
ตรงที่เขียนว่า root.daemon เป็นการบอกให้รู้ว่า file มีเจ้าของคือ root ซึ่งอยู่ใน group daemon
ถ้าเราจะเปลี่ยนเจ้าของเราก็พิมพ์ chown admin.adm /etc/host.conf ก็จะเป็นการเปลี่ยนเจ้าของ file จาก root กลุ่ม daemon เป็น admin จากกลุ่ม adm
option ที่สำคัญของ chmod ที่ใช้บ่อยก็คือ -R ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนเจ้าของ file ทั้ง directory รวมถึง subdirectory ของมัน เช่น
#chown -R postfix.mail /etc/postfix

less
เป็นคำสั่งในการดูเนื้อหาใน file ซึ่งสามารถใช้ cursor เลื่อนขึ้น ลง เพื่อดูเนื้อหาใน file ได้ การใช้ พิมพ์ less ตามด้วย filename

more
เป็นคำสั่งที่ใช้ แสดงเนื้อหาใน file ต่างกับ less ตรงที่เลื่อนลงได้ เลื่อนขึ้นไม่ได้ การใช้งาน พิมพ์ more แล้วตามด้วยชื่อ file แต่ส่วนใหญ่ที่ผมใช้มักจะใช้คู่กับ คำสั่ง ls คือ เวลา file ใน directory มีมากกว่า 1 หน้าเราสามารถให้มันหลุดทีละหน้าได้
(เหมือนใช้คำสั่ง dir /w ) โดยใช้ คำสั่งเช่น
#ls /usr/bin | more

diablo01

  • บุคคลทั่วไป
ขอบคุณมากๆเลยครับ สำหรรับความรู้ที่นำมามอบให้อ่ะครับ

ออฟไลน์ ood666

  • สอบภาคทฤษฎี
  • *
  • กระทู้: 9
  • Reputation: 0
 yes yesjขอบคุณครับ smoke smoke
Signature cleanned by Admin


iqcang

  • บุคคลทั่วไป

Sirichut

  • บุคคลทั่วไป

 ฮิๆๆเข้ามาดูครับ

ออฟไลน์ nakaujung

  • มือใหม่
  • *
  • กระทู้: 1
  • Reputation: 0

ออฟไลน์ aegzolo

  • ปี 1 เทอม 2
  • ***
  • กระทู้: 13
  • Reputation: 0
ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ
Signature cleanned by Admin